โครงการอบรมความรู้เกี่ยวกับกฏหมายสำหรับผู้ประนีประนอม ศาลจังหวัดสงขลา ปี 2553

วันที่ 11 พฤษภาคม 2553
นายอรุณ เรืองเพชร อธิบดี ผู้พิพากษาภาค 9 
นายประคอง เตกฉัตร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสนง.อธิบดีผู้พิพากษาภาค 9 
นายสมศักดิ์ ประณิธิพงศ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสงขลา
เข้าร่วมบรรยาย
                               โครงการอบรมความรู้เกี่ยวกับกฏหมายสำหรับผู้ประนีประนอม
ส่วนไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทประจำศาลจังหวัดสงขลา
 ณ. ห้องประชุมใหญ่ ประจำศาลจังหวัดสงขลา





มารู้จักกับผู้ประนีประนอมประจำศาลกันเถอะ...

ผู้ประนีประนอมประจำศาล


ปัจจุบันการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมี บทบาทและมีส่วนสำคัญในการช่วยหรือเสริมให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปอย่าง รวดเร็ว บุคคลหรือกลุ่มบุคคลคณะหนึ่งที่สมควรกล่าวถึงเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีส่วนสำคัญในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นศาล บุคคลที่ผมจะแนะนำให้พวกเราได้รู้จักคือ "ผู้ประนีประนอมประจำ ศาล"
คิดว่าพวกเราหลายคนคงน่าจะเคยได้ ยินชื่อนี้มาก่อน หรืออีกหลายคนก็อาจจะไม่เคยได้ยินชื่อนี้มาก่อน บุคคลเหล่านี้เข้ามาเกี่ยวข้องกับศาลได้อย่างไร เพราะเขาไม่ใช่ผู้พิพากษา ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของศาล ไม่ใช่ลูกจ้างของศาล ลองติดตามอ่านบันทึกนี้ดูก็คงจะรู้จักบุคคลกลุ่มนี้มากขึ้น
ผู้ประนีประนอม หรืออาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ผู้ ไกล่เกลี่ย หมายถึง บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้รับผิดชอบราชการศาลเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นคน กลางช่วยเหลือศาลในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หมาย ถึง การยุติหรือระงับข้อพิพาทด้วยความตกลงยินยอมของคู่ความเองโดยมีผู้ไกล่ เกลี่ยเป็นคนกลาง ช่วยเหลือ แนะนำ หาทางออกในการยุติหรือระงับข้อพิพาทให้แก่คู่ความ เพื่อนำไปสู่จุดหมายหรือข้อตกลงอันเป็นที่ยอมรับร่วมกันได้ทั้งสองฝ่าย
การขึ้นบัญชีผู้ประนีประนอม ผู้รับผิดชอบราชการศาลจะเป็นผู้คัดเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสม โดยพิจารณาคุณสมบัติในเบื้องต้น กล่าวคือ มีบุคลิกภาพดี-มนุษยสัมพันธ์ดี-มีความน่าเชื่อถือ-จิตใจมั่นคงหนักแน่น-มี เหตุผล-เคารพความเห็นที่แตกต่าง-ไหวพริบปฏิภาณดี-มีความสามารถในการพูด อธิบายแสดงเหตุผลโน้มน้าวจูงใจ-เชื่อมั่นการแก้ปัญหาโดยสันติ-ไม่นิยมการ อำนาจความรุนแรง...เป็นต้น
ผู้รับผิดชอบราชการศาลพิจารณา บุคคลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวแล้วจะแต่งตั้งขึ้นบัญชีให้เป็นผู้ประนีประนอมประจำศาล สำหรับจำนวนมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับขนาดและปริมาณคดีในแต่ละศาล มีกำหนดระยะเวลาขึ้นทะเบียนไว้เป็นเวลา ๑ ปี หรือ ๒ ปี ตามความเหมาะสม
การอบรมผู้ประนีประนอม สำนักระงับข้อ พิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม เป็นผู้รับผิดชอบอบรมหลักสูตรเทคนิคการไกล่เกลี่ยข้อพาทให้กับผู้ประนี ประนอม โดยจะอบรมทั้งในส่วนภาควิทยาการ และภาคปฏิบัติ จากนั้นจะฝึกฝนทักษะการไกล่เกลี่ยและการมอบคดีให้แก่ผู้ประนีประนอมเพื่อทำ การไก่เกลี่ยต่อไป
การขึ้นทะเบียนผู้ประนีประนอมประจำสำนักระงับข้อพิพาท ผู้รับผิดชอบราชการศาลทำการประเมินผู้ประนีประนอมที่ผ่านการอบรมและ ฝึกฝนทักษะ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้คือ ผลสำเร็จของการไกล่เกลี่ย-ความรู้ความสามารถในการไกล่ เกลี่ย-ความพึงพอใจของคู่ความ-ความประพฤติของผู้ประนีประนอม ประกอบกับต้องมีคุณสมบัติและลักษณะไม่ต้องห้ามดังนี้คือ
๑.สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีและมีประสบการณ์ทำงานไม่ น้อยกว่า ๕ ปี หรือมีประสบการณ์ทำงานในสาขาที่เป็นประโยชน์แก่การไกล่เกลี่ยไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี
๒.ผ่านการอบรมหลักสูตรเทคนิคการไกล่เกลี่ยฯจากสำนักงานศาล ยุติธรรม หรือหลักสูตรในลักษณะเดียวกันที่สถาบันอื่นจัด โดยสำนักงานศาลยุติธรรมให้การรับรอง และมีประสบการณ์ด้านไกล่เกลี่ยฯในศาลหรือศูนย์ไกล่เกลี่ยฯสำนักระงับข้อ พิพาทมาไม่น้อยกว่า ๑๐ คดี
๓.มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปี
๔.ไม่เป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการ
๕.ไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ
๖.ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก...
เมื่อผู้รับผิดชอบราชการศาลเห็น ว่าบุคคลใดผ่านการประเมินและมีคุณสมบัติครบถ้วนก็จะเสนอชื่อไปยังเลขาธิการ สำนักงานศาลยุติธรรมเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประนีประนอมประจำสำนักระงับข้อ พิพาท มีกำหนดระยะเวลาขึ้นทะเบียนไว้ ๒ ปี
ผู้ประนีประนอมที่ได้รับการขึ้น ทะเบียนประจำสำนักระงับข้อพิพาท มีสิทธิทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้ทุกศาลทั่วราชอาณาจักร ซึ่งจะแตกต่างจากผู้ประนีประนอมที่ได้รับการขึ้นบัญชีประจำศาลไว้ จะมีสิทธิไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้ภายในศาลที่ตนเองได้รับการขึ้นบัญชีเท่านั้น
ผู้ประนีประนอมได้รับค่าตอบแทนตาม ระเบียบที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด แต่เป็นค่าตอบแทนที่ไม่มากนัก การอาสาเข้ามาเป็นผู้ประนีประนอมไม่ได้หวังค่าตอบแทนแต่อย่างใด แต่เป็นการอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือราชการมากกว่า
การทำหน้าที่ของผู้ประนีประนอมใน การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของคู่ความนั้น จะต้องดำรงตนในความเป็นกลางอย่างยิ่งยวด หากเอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดอาจถูกถอดถอนได้ ดังนั้นจึงขอให้คู่ความที่ต้องเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิทในชั้นศาล โปรดวางใจได้ว่าท่านจะได้รับความเป็นธรรมอย่างเต็มที่
ที่กล่าวมาข้างต้นน่าจะช่วยให้พวก เรารู้จักกับตัวตนของผู้ประนีประนอม รู้จักบทบาท ภาระหน้าที่ ของผู้ประนีประนอมมากขึ้น หากพวกเราเห็นว่าตนเองมีคุณสมบัติครบถ้วนและพอมีเวลาว่างอยู่บ้าง ก็ลองเสนอตัวเข้ามาทำงานทางด้านนี้ได้
Share this post :

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

ป้ายกำกับ

โครงการ (68) ประชุม (31) ร่วมพิธี (31) ศึกษาดูงาน (31) กีฬา (18) ต้อนรับ (13) ทำเนียบบุคคลากร (13) ดูงาน (12) อวยพรปีใหม่ (11) งานเลี้ยง (10) มอบเกียรติบัตร (10) ตรวจเยี่ยม (9) เข้าเยี่ยมคารวะ (9) ทำเนียบผู้พิพากษา (8) ทำเนียบเจ้าหน้าที่ (7) ประวัติศาล (7) นักศึกษาฝึกงาน (6) ประสานความร่วมมือ (6) รับเสด็จ (6) เอกสารที่ต้องใช้ในการขอประกันตัว (6) จังหวัดเคลื่อนที่ (5) วันสำคัญ (5) MOU (4) กิจกรรม (4) อบรม (4) ตรวจศาล (3) ถวายพวงมาลัย (3) ประชาสัมพันธ์ (3) ประวัติศาล ภาค๙ (3) ฝึกอบรม (3) รายงานตัว (3) ศาลอื่นๆ (3) เยี่ยมแสดงความยินดี (3) โยกย้าย (3) Linkเว็บศาลยุติธรรม (2) งานศพ (2) ทำบุญตักบาตร (2) ทำเนียบข้าราชการตำรวจ (2) บันทึกเทป (2) ฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ (2) รดน้ำดำหัว (2) วันมหิดล (2) สักการะศาลพระภูมิ (2) Action (1) Adventure (1) video conference (1) งานแต่งงาน (1) ตรวจรับพัสดุ (1) ทำเนียบ รปภ. (1) ทำเนียบเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (1) บรรยาย (1) ประกาศ (1) ประชุมทางไกล (1) ประเพณีสงขลา (1) ปลดเผาสำนวน (1) วันรพี (1) วันเกิด (1) วารสาร (1) สรุปข่าวประจำเดือน (1) สัมมนา (1) เศรษฐกิจพอเพียง (1)

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Support : Creating Website By SU| |
Copyright © 2013. ศาลสงขลา - All Rights Reserved
Template Created by SU
Proudly powered by Blogger