คณะผู้อำนวยความเป็นธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รุ่นที่ 6 เข้าดูงาน ศาลจังหวัดสงขลา

                               คณะผู้อำนวยความเป็นธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  รุ่นที่ 6  เข้าดูงาน ศาลจังหวัดสงขลา
             เมื่อวันที่  7 กรกฎาคม  2553 เวลา 09.00 นาฬิกา นายสมศักดิ์ ประณิธิพงศ์                 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสงขลา  ได้มอบหมายให้  นางสาวไปรยา  เจริญประกอบ  ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสงขลา  เป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาคดีในชั้นศาลแก่คณะผู้อำนวยความเป็นธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  หรือ ศอ.บต. รุ่นที่ 6  จำนวน 40  คน โดยมี              นายปรารภ  เทพรักษ์   ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดสงขลา  กล่าวต้อนรับ            ณ ห้องประชุมใหญ่ศาลจังหวัดสงขลา 

 ศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เข้า มามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ในสมัยรัฐบาลที่มี ฯพณฯพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบโดย ตรง                                                                                  
             - ในระดับพื้นที่มีแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้กํากับ
                     ™ ศอ.บต. รับผิดชอบงานฝ่ายพลเรือน
                     ™ และ พตท . 43 รับผิดชอบงานด้านป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย
            ต่อมาในปี 2539 นายบรรหาร ศิลปะอาชา นายกรัฐมนตรี ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอํานวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาค ใต้ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเป็นองค์กรในระดับนโยบาย
            - โดย ศอ.บต. จะอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของปลัดกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบงานภารกิจงานด้านฝ่ายพลเรือนและตํารวจ
            - ในส่วนของงานด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย จะมีกองทัพภาคที่ 4/กอ .รมน . ภาค 4 เป็นผู้รับผิดชอบกํากับดูแล กอ.รมน. จังหวัด และกองบัญชาการผสมพลเรือน ตํารวจ ทหาร ที่ 43
 ในปี พ .ศ . 2545 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีการยุบ ศอ.บต.
            - โดยให้โอนอํานาจของคณะกรรมการ การอํานวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปเป็นของสภาความมั่นคงแห่งชาติ
            - อํานาจหน้าที่ของ ศอ.บต. ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ทําหน้าที่ในการดู แลบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ในลักษณะของการบูรณาการ
            - อํานาจหน้าที่ของ พตท . 43 ให้โอนไปเป็นของกองทัพ ภาคที่ 4 / กอ .รมน ภาค 4
 ใน ปีพ .ศ . 2547 ได้มีคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ 69/2547 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2547 ลงนามโดย พลเอกเชาวลิตยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ผู้ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีให้กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายใน จัดตั้งกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายใน ส่วนหน้าใช้ชื่อว่า “กองอํานวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้” เป็นศูนย์ควบคุมและแกนหลักในการประสาน การปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้และต่อมาได้มี
            - คําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ 200/2548 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2548 จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กสชต.) ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี 
            - โดยมีกองอํานวยการเสริมสร้างสันติสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.)
            - ศูนย์ปฏิบัติการสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
            - ศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติ ขึ้นตรงต?อ กสชต. โดย กสชต. จะควบคุมทางยุทธการ ต่อ กอ .สสส .จชต . กองทัพภาคที่ 4 ส่วนหน้า กองบัญชาการตํารวจภู ธรภาค 9
 สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชาย แดนภาคใต้เกิดขึ้นและดําเนินการอย่างต่อเนื่องและความรุนแรงของการก่อเหตุใน ช่วงแรกยังอยู่ในระดับต่ำ แต่สันนิฐานว่า การปลูกฝังอุดมการณ์การปรับเปลี่ยน และการเตรีมจัดตั้งองค์กรใหม่ น่าจะอยู่ในช่วงแห่งการฝังตัว
            - จนเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 ได้เกิดเหตุปล้นกองพันพัฒนาที่ 4 อําเภอเจาะไอร้อง และเกิดเหตุการณ์กรือเซะ เมื่ อวั นที่ 28 เมษายน 2547 มีผู้เสียชีวิต 108 คน
            - รวมทั้งเหตุการณ์ที่ตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 มีผู้เสียชีวิต 85 คน หลังจากนั้นการก่อเหตุร้ายเกิดขึ้นเกือบเต็มพื้นที่สูงผลให้เกิดปัญหาติดตาม มาในหลายมิติ เช่น

           1. มิติความรุนแรงของสถานการณ์ได้แปรเปลี่ยนไปในการมุ่งร้ายต่อเจ้าหน้าที่ของ รัฐและประชาชนผู้บริสุทธิ์ มีการลอบวางระเบิดซุ่มโจมตีฐานที่ตั้งและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตามจุด ต่างๆ มีการฆ่าแล้วเผา หรือตัดคอที่แสดงให้เห็นถึงความโหดเหี้ยม เพื่อให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว และไม่ให้ความร่วมมือเจ้าหน้าที่รัฐ
            2. มิติของความรู้สึกของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้และคนทั่วไป ส่งผลต่อ    ปัญหาในการดําเนินนโยบายสมานฉันท์อย่างมาก เพราะประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความหวาดระแวงและไม่ไว้วางใจ ซึ่งกันและกันมากขึ้นโดยเฉพาะในชุมชนที่มีทั้งประชาชนชาวไทยพุทธและชาวไทย มุสลิมขณะเดียวกันประชาชนชาวไทยในจังหวัดอื่นๆ ก็มีความรู้สึกหวาดระแวงและรังเกียจ พี่น้องชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
  มิติด้านเศรษฐกิจ ที่เป็นผลสื่อเนื่องจากเหตุ การณ์ความไม่สงบเรียบร้อยนั้น เป็นปัญหาอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพราะไม่มีการลงทุน เพิ่มขึ้นในพื้นที่อัตราการขยายตัวของ GPP ลดลงจาก 3.19 % ในปี 2546 เหลือเพียง 1.04 % ในปี 2549
            มิติด้านสังคม มีปัญหาอย่างมากต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุก คนอยู่ภายใต้ความกดดัน และมีปัญหาด้านสุขภาพจิต ขาดความเป็นอิสระในการใช้ชีวิตด้านคุณภาพการศึกษาตกต่ำลง ผลกรรม O-Net ของ 3 จชต. อยู่ลําดับสุดท้ายของประเทศ ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงปัญหาด้านสาธารณะสุขซึ่งอยู่ลําดับสุดท้ายของประเทศอย่างต่อ เนื่องมาตลอด
            มิติด้านการเมืองการปกครอง ส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็คือปัญหาเจ้า      หน้าที่ของรัฐ ไม่กล้าลงพื้นที่ในการปฏิบัติงาน ข้าราชการขอย้ายออกนอกพื้นที่ทําให้เกิดปัญหาต่องานบริการของรัฐ ที่มีต่อประชาชนจนกลายเป็นปมปัญหาที่ฝ่ายตรงข้ามได้นําไปใช้เป็นประโยชน์หา แนวร่วม
            การขยายตัวของปัญหาที่ติดตามมาในหลายมิติ ทําให้รัฐบาลได้จัดตั้ง กอ .รมน . ขึ้นมาเป็นศูนย์กลางในการกําหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ ความมั่นคง และเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบต่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ดํา เนินงานด้านความมั่นคงควบคู่กับงานด้านการพัฒนา
            - ได้มีคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ 206/2549 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2549 เรื่อง นโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขึ้นมาเป็นกรอบการปฏบัติงาน
            - ได้มีคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ 207/2549 เรื่อง “การบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ” ขึ้นมาโดยมีการจัดตั้ง ศอ .บต . เป็นหน่วยงานภายในสํานักนายกรัฐมนตรี ขึ้นมาภายใต้การกํากับดูแลของ กอ .รมน . และ พตท . เป็นหน่วยงานภายใต้ กอ .รมน . ภาค 4 ซึ่งได้มีการแบ่งภารกิจ ระหว่าง 2 หน่วยงาน เพื่อปฏิบัติงานตามนโยบายเสริมสร้างสันติสุข ดังนี้
                     ™ ศอ .บต . ดูแลเรื่องงานด้านการเมืองและการพัฒนา
                     ™ ส่วน พตท .ดูแลด้านการทหารและการข่าว
            - ผอ .ศอ .บต . ได้รับการแต่งตั้ง ให้มาปฏิบัติงาน ตามคําสั่ง เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 และปฏบัติงาน ศอ .บต . เมื่ อวั นที่ 8 พฤศจิกายน 2549 ในภาวะที่ยังไม่พร้อม ทั้งอาคารสถานที่วัสดุอุปกรณ์เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและเงินงบประมาณ และต้องปฏิบัติงานอยู่ภายใต้ภาวะความกดดัน จากการที่สังคมเกิดความคาดหวังสูงมากว่าทั้ง กอ.รมน. พตท. และ ศอ.บต. จะเป็นยาวิเศษแก้ไขปัญหาที่หมักหมมมายาวนานให้ลุล่วงไป
           - การดําเนินงานของ ศอ.บต. ภายใต้โครงสร้างใหม่ ได้เริ่มปฏิบัติงานจริงๆ ในเดือนมกราคม 2550 ภายใต้แนวคิดที่ว่า ศอ.บต. เป็นเพื่อนเก่าที่กลับมาแล้ว และนํานโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปแปลงสู่การปฏิบัติโดย มี ภารกิจหลัก 5 ประการ คือ
           1. กํากับเร่งรัด การปฏิบัติของฝ่ายพลเรือน ตามนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในเรื่อง
                      ™ การศึกษา
                      ™ การอํานวยความเป็นธรรม
                      ™ การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน
                      ™ การสร้างความเข้าใจในพื้นที่
           2. รวบรวม กลั่นกรอง บูรณาการ และเสนอแนะ การจัดทําแผนงาน /โครงการ และการตั้งงบประมาณของหน่วยราชการ และหน่วยงานของรัฐ
           3. อํานวยการและประสานการปฏิบัติ ในการบริหารงานยุติธรรม การคุ้มครองสิทธิ์ และเสรีภาพ การอํานวยความยุติธรรม การเยียวยา การพิจารณากระบวนการยุติธรรม การตรวจสอบและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ ไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อขจัดเงื่อนไขความไม่เป็นธรรม
           4. พัฒนาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ของรัฐที่ ปฏับัติงานใน จชต.
           5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนา แก้ไขปัญหา จชต. โดยใช้กลไกของหน่วยราชการฝ่ายพลเรือนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นผู้ขับเคลื่อนใน 2 มิติ คือ
                     ™ มิติการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
                     ™ และมิติด้านการวางรากฐานในการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนศอ.บต. ได้ให้ความสําคัญกับการปฏิบัติงานที่ ครอบคลุมในทุกมิติ
Share this post :

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

ป้ายกำกับ

โครงการ (68) ประชุม (31) ร่วมพิธี (31) ศึกษาดูงาน (31) กีฬา (18) ต้อนรับ (13) ทำเนียบบุคคลากร (13) ดูงาน (12) อวยพรปีใหม่ (11) งานเลี้ยง (10) มอบเกียรติบัตร (10) ตรวจเยี่ยม (9) เข้าเยี่ยมคารวะ (9) ทำเนียบผู้พิพากษา (8) ทำเนียบเจ้าหน้าที่ (7) ประวัติศาล (7) นักศึกษาฝึกงาน (6) ประสานความร่วมมือ (6) รับเสด็จ (6) เอกสารที่ต้องใช้ในการขอประกันตัว (6) จังหวัดเคลื่อนที่ (5) วันสำคัญ (5) MOU (4) กิจกรรม (4) อบรม (4) ตรวจศาล (3) ถวายพวงมาลัย (3) ประชาสัมพันธ์ (3) ประวัติศาล ภาค๙ (3) ฝึกอบรม (3) รายงานตัว (3) ศาลอื่นๆ (3) เยี่ยมแสดงความยินดี (3) โยกย้าย (3) Linkเว็บศาลยุติธรรม (2) งานศพ (2) ทำบุญตักบาตร (2) ทำเนียบข้าราชการตำรวจ (2) บันทึกเทป (2) ฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ (2) รดน้ำดำหัว (2) วันมหิดล (2) สักการะศาลพระภูมิ (2) Action (1) Adventure (1) video conference (1) งานแต่งงาน (1) ตรวจรับพัสดุ (1) ทำเนียบ รปภ. (1) ทำเนียบเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (1) บรรยาย (1) ประกาศ (1) ประชุมทางไกล (1) ประเพณีสงขลา (1) ปลดเผาสำนวน (1) วันรพี (1) วันเกิด (1) วารสาร (1) สรุปข่าวประจำเดือน (1) สัมมนา (1) เศรษฐกิจพอเพียง (1)

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Support : Creating Website By SU| |
Copyright © 2013. ศาลสงขลา - All Rights Reserved
Template Created by SU
Proudly powered by Blogger