ประชุมการจัดทำตัวชี้วัด

07/02/2554 ศาลจังหวัดสงขลาจัด ประชุมการจัดทำตัวชี้วัด ณ ห้องประชุมใหญ่  ศาลจังหวัดสงขลา




"การบริหารความเปลี่ยนแปลง (change management)" คือเรื่องที่ท้าทายและมีแนวโน้มคงอยู่จากอดีต สู่ปัจจุบัน รวมทั้งยังมีบทบาทสำคัญในอนาคตอีกด้วย หากถามเรื่องนี้เห็นจะเป็นจริง เพราะตอนนี้โลกหมุนเร็วและแคบขึ้นมากด้วยปัจจัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนผ่านระหว่างวัย (Generation) และ "ข่าวล่าสุดมีรายงานตามสื่อว่ามี 8 แบรนด์ดังที่ก่อตั้งมายาวนานปิดตัวลงเหลือเพียงชื่อ" เช่น Kodachrome ฟิล์มของค่ายโกดักที่เปิดตัวตั้งแต่ปี 2478 ที่โด่งดังในฐานะฟิล์มสีที่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์มากที่สุดและใครต่อ ใครก็รู้จัก ร้านแซทเทิร์นแบรนด์รถยนต์ในเครือจีเอ็ม และโฮม ดีโป เอ็กซ์โป ของเชนค้าปลีกอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน เป็นต้น

    ปัจจัยภาวะผู้นำ (Leadership) ประเด็น Hot ตลอดหลายปีที่ผ่านมากำลังลดความสำคัญลง และเรื่องอื่นจะเข้ามาทดแทน?... ภาวะผู้นำใช่จะหมดสำคัญ แต่เป็นเพราะมีประเด็นอื่นมีความจำเป็นและโดดเด่นขึ้มามาก โดยเฉพาะ
"การจัดทำแผนทดแทนตำแหน่ง (succession plan) และการบริหารพนักงานศักยภาพสูง (talent management) เข้ามาทดแทน"... เนื่องจากโลกได้เข้าสู่ยุค "ไซเบอร์" หรือโลกยุคหลังสมัยใหม่ (Post-modern) แล้วการจัดการเรื่องคนจึงตกไปเป็นประเด็นข้างต้นแทน...

    การจัดการผลงาน (performance management) หายไป?!!... แต่หากพิจารณาผลที่เกิดขึ้นให้ดี "จะ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ดูระบบการจัดการผลงาน" เพราะยังติด Top5 นั่นหมายความว่าอนาคตการจัดการผลงานในแต่ละองค์ยังคงเป็นเรื่องที่มีความ สำคัญ ตั้งแต่การกำหนดทิศทางองค์การ การตั้งเป้า ตัวชี้วัด และการถ่ายทอดตัวชี้วัดลงมาสู่ระดับพนักงานรายบุคคล แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าพนักงานต้องมานั่งที่ Office แต่จะเป็นการส่งมอบผลงานโดยในลักษณะองค์กรเสมือนจริง จากมุมไหนของโลกก็ได้ ด้วยศักยภาพที่สูงของของพนักงานแต่ละคนนั่นเอง...


    จากแนวโน้มสิ่งท้าทายที่นำเสนอข้างต้น  คงต้องเตรียมการเพื่อรองรับ โดยเฉพาะการวางแผนสืบทอดตำแหน่งและการจัดการพนักงานศักยภาพสูง และเช่นเดียวกับเราในฐานพนักงานหรือผู้ที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงาน คงต้องพัฒนาตนเองให้ Talent จริงๆ และไม่ "ทะ-เล้น" นะครับ...
ถาโถมเข้ามากระทบอย่างรุนแรง(อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น)...  คือ "กระแสการเปลี่ยนแปลง" และหากองค์การหรือบริษัทใดไม่มีเสาหลักหรือภูมิคุ้มกันต่อเรื่องดังกล่าว อาจล้มหายตายจากไปจากเวทีการแข่งขันก็เป็นได้......




องค์ประกอบการกำหนดตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์

            1.  เป็นการถ่ายทอดจากบนลงล่าง
            2.  คำขึ้นต้นในการเขียนตัวชี้วัด
     -  ร้อยละ      (ตอบเป็น...ร้อยละ....)
     -  จำนวน     (ตอบเป็น...ครั้ง/วัน/สัปดาห์/เดือน/ชั่วโมง/เรื่อง/ระบบ/แผ่น/เล่ม/ฉบับ)
     -  ระยะเวลา  (ตอบเป็น...วัน/ เดือน/สัปดาห์)
3. ต้องมีหลักฐานแสดงความสำเร็จของงานที่สามารถนับได้ชัดเจน
4. ข้อกำหนดในการกำหนดตัวชี้วัด
     - วัดปริมาณผลงาน
     - วัดคุณภาพผลงาน
     - วัดความรวดเร็วหรือตรงตามเวลาที่กำหนด
     - วัดการประหยัด หรือความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร
5. งานที่นำมากำหนดตัวชี้วัด
    - งานตามนโยบายหรือตามแผนยุทธศาสตร์
    - งานประจำตามหน้าที่ความรับผิดชอบ
    - งานที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ
    - งานริเริ่มพัฒนา
6. เอกสารที่นำมาประกอบการกำหนดตัวชี้วัด
    - ภารกิจตามประกาศ ก.บ.ศ. เรื่องกำหนดโครงสร้างและการกำหนดอำนาจหน้าที่
    - หน้าที่ความรับผิดชอบตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง  (เล่มเขียว)
    - เขียนคำบรรยายลักษณะงานของแต่ละตำแหน่ง (JD)
7. ค่าเป้าหมาย    กำหนดเป็น 5  ระดับ   วัดในรอบการประเมิน 15 ต.ค.53- 15 มี.ค.54
                           รอบ 2   ประมาณวันที่ 15 เม.ย.54  ถึง 15 ก.ย. 54  
ตัวอย่างที่ 1   ตัวชี้วัดผู้อำนวยการ  ในเรื่องของระยะเวลา
- ระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่ทุกคนในหน่วยงานจัดทำตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์แล้วเสร็จ
คะแนนตามระดับค่าเป้าหมาย
1
2
3
4
5
หลัง 20 พ.ย.53      
ภายใน 16-20  พ.ย.53      
ภายใน 15 พ.ย.53               
ภายใน 13-14 พ.ย.53          
ภายใน 10-12 พ.ย.53




ตัวอย่างที่ 2   ตัวชี้วัดผู้อำนวยการ  ในเรื่องของจำนวน 
- จำนวนกิจกรรมที่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด

คะแนนตามระดับค่าเป้าหมาย
1
2
3
4
5
5  กิจกรรมขึ้นไป      
  3 4  กิจกรรม      
     2  กิจกรรม               
    1  กิจกรรม          
เสร็จทุกกิจกรรม


ตัวอย่างที่ 3   ตัวชี้วัดสำหรับเจ้าหน้าที่ส่งหมาย  วัดในเรื่องของร้อยละ
- ร้อยละของหมายศาลที่สามารถส่งได้ภายใน 7 วันทำการนับจากวันเซ็นรับหมายไป

คะแนนตามระดับค่าเป้าหมาย
1
2
3
4
5
ร้อยละ 11 ขึ้นไป      
  ร้อยละ7 10         
     ร้อยละ 94-95               
   ร้อยละ 96-97         
ร้อยละ 1-2


ตัวอย่างที่ 4  ตัวชี้วัดสำหรับเจ้าหน้าที่การเงิน  วัดในเรื่องของจำนวน (วัดคุณภาพ)
- จำนวนครั้งของความผิดพลาดที่รายงานเงินสดคงเหลือประจำวัน ไม่ตรงกับจำนวนเงิน
   เงินสดในมือ
คะแนนตามระดับค่าเป้าหมาย
1
2
3
4
5
 4    ครั้งขึ้นไป
        3 ครั้ง
         2 ครั้ง    
      1  ครั้ง
   0   ครั้ง


ตัวอย่างที่ 5 ตัวชี้วัดด้านการบริหารบุคคล   วัดในเรื่องร้อยละ (วัดในเชิงปริมาณ)
- ร้อยละของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เข้ารับการอบรมทั้งภายในและภายนอก
  
คะแนนตามระดับค่าเป้าหมาย
1
2
3
4
5
ต่ำกว่าร้อยละ 15
     ร้อยละ 15-19
         ร้อยละ 20
      ร้อยละ 21-25
   ร้อยละ 26 ขึ้นไป

                                           ---------------------------
Share this post :

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

ป้ายกำกับ

โครงการ (68) ประชุม (31) ร่วมพิธี (31) ศึกษาดูงาน (31) กีฬา (18) ต้อนรับ (13) ทำเนียบบุคคลากร (13) ดูงาน (12) อวยพรปีใหม่ (11) งานเลี้ยง (10) มอบเกียรติบัตร (10) ตรวจเยี่ยม (9) เข้าเยี่ยมคารวะ (9) ทำเนียบผู้พิพากษา (8) ทำเนียบเจ้าหน้าที่ (7) ประวัติศาล (7) นักศึกษาฝึกงาน (6) ประสานความร่วมมือ (6) รับเสด็จ (6) เอกสารที่ต้องใช้ในการขอประกันตัว (6) จังหวัดเคลื่อนที่ (5) วันสำคัญ (5) MOU (4) กิจกรรม (4) อบรม (4) ตรวจศาล (3) ถวายพวงมาลัย (3) ประชาสัมพันธ์ (3) ประวัติศาล ภาค๙ (3) ฝึกอบรม (3) รายงานตัว (3) ศาลอื่นๆ (3) เยี่ยมแสดงความยินดี (3) โยกย้าย (3) Linkเว็บศาลยุติธรรม (2) งานศพ (2) ทำบุญตักบาตร (2) ทำเนียบข้าราชการตำรวจ (2) บันทึกเทป (2) ฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ (2) รดน้ำดำหัว (2) วันมหิดล (2) สักการะศาลพระภูมิ (2) Action (1) Adventure (1) video conference (1) งานแต่งงาน (1) ตรวจรับพัสดุ (1) ทำเนียบ รปภ. (1) ทำเนียบเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (1) บรรยาย (1) ประกาศ (1) ประชุมทางไกล (1) ประเพณีสงขลา (1) ปลดเผาสำนวน (1) วันรพี (1) วันเกิด (1) วารสาร (1) สรุปข่าวประจำเดือน (1) สัมมนา (1) เศรษฐกิจพอเพียง (1)

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Support : Creating Website By SU| |
Copyright © 2013. ศาลสงขลา - All Rights Reserved
Template Created by SU
Proudly powered by Blogger