ศาลจังหวัดสงขลาเข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาน้อมคาราวะและเพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องใน วันอาภากร ๑๙ พฤษภาคม 2554

             เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2554 นายสมศักดิ์ ประณิธิพงศ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสงขลา ได้มอบหมายให้
นายศุภชัย ฟูจิตร์    ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสงขลา และคณะข้าราชการศาลยุติธรรม  เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลา น้อมคาราวะและเพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องใน วันอาภากร ณ บริเวณหน้าพระอนุสาวรีย์ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงค์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (แหลมสนอ่อน) อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา


       วันอาภากร ตรงกับวันที่ 19 พฤษภาคม ของทุกปี ตรงกับวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466) ซึ่งเป็นที่เคารพของทหารเรือไทย ในฐานะที่ทรงเป็นผู้วางรากฐาน และพัฒนากิจการกองทัพเรือไทย จัดตั้งฐานทัพเรือ โรงเรียนนายเรือ

กองทัพเรือไทยได้กำหนดให้วันที่ 19 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันอาภากร พร้อมกับขนานพระนามพระองค์ท่านเป็น "พระบิดาของกองทัพเรือไทย" ตั้งแต่ พ.ศ. 2536





๑๙ พฤษภา วันอาภากร


กอง ทัพเรือได้กำหนดให้วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันอาภากร เนื่องจากวันนี้เมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๖๖ เป็นวันสิ้นพระชนม์ของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ "องค์บิดาของทหารเรือไทย" และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกพระกรุณาธิคุณของ พระองค์ท่านที่ได้ทรงพัฒนากิจการทหารเรือให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง มีความเจริญก้าวหน้าเป็นที่ประจักษ์ มาตราบเท่าทุกวันนี้
นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (ต้นราชสกุลอาภากร) เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ นับลำดับราชสกุลวงศ์เป็นองค์ที่ ๒๘ กับทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์ที่ ๑ ใน เจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ผู้บัญชาการทหารเรือวังหลวง มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๒๓ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๓ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๔๒ เวลา ๑๕.๕๗ น. มีพระกนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดา ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรองค์อรรคยุพา (สิ้นพระชนม์ขณะทรงพระเยาว์) และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยูรพันธุ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภา ส ในปี พ.ศ.๒๔๓๖ ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าให้ เสด็จในกรมฯ เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ พร้อมกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยศักดิ์เป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี ซึ่งการศึกษาของเสด็จในกรมฯ ณ ประเทศอังกฤษนั้น ในขั้นแรก พระองค์ได้ประทับร่วมกับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ไบรตันและแอสคอต เพื่อทรงศึกษาภาษาและวิชาเบื้องต้น ต่อมาได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาขั้นต้นสำหรับเตรียมเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนาย เรืออังกฤษ ที่โรงเรียนกวดวิชา The Linnes และศึกษาต่อที่โรงเรียนนายเรืออังกฤษ ตามลำดับ และเมื่อทรงสำเร็จการศึกษาในปี ๒๔๔๓ พระองค์ได้ทรงเข้ารับราชการในกรมทหารเรือโดยได้รับพระราชทานยศเป็น นายเรือโท (เทียบเท่า นาวาตรี ในปัจจุบัน) พระกรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อกองทัพเรือกำหนดแบบสัญญาณธงสองมือและโคมไฟ ทรงริเริ่มกำหนดแบบสัญญาณธงสองมือและโคมไฟ ตลอดจนเริ่มฝึก พลอาณัติสัญญาณ (ทัศนสัญญาณ) ขึ้นเป็นครั้งแรก ทหารเหล่าทัศนสัญญาณ จึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปีนี้ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๔๓ การจัดตั้งหน่วยฝึกพลทหารที่บางพระในช่วงเวลาประมาณ ๒ ปี ที่เสด็จในกรมฯ ทรงรับราชการ ในกรมทหารเรือ พระองค์คงจะทรงสังเกตว่านายทหารและพลทหารในเวลานั้นขาดทั้งความรู้ ความสามารถ และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพราะระบบการเรียกเข้ารับราชการและการฝึกไม่เอื้ออำนวยให้ ประกอบกับขาดแคลนผู้ฝึกที่มีความสนใจและตั้งใจจริง ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๔๕ พระองค์จึงได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตจัดตั้งหน่วยฝึกขึ้นที่บางพระ เพื่อเรียกพลทหารจากจังหวัดชายทะเลในภาคตะวันออกมารับการฝึกการจัด ระเบียบการบริหารราชการกรมทหารเรือขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.๒๔๔๕ เสด็จในกรมฯ ได้ทรงจัดระเบียบราชการกรมทหารเรือขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติศักดินาทหารเรือ ร.ศ.๑๑๒ เรียกว่า "ข้อบังคับการปกครอง" แบ่งออกเป็น ๓ ตอน คือ ตอนที่ ๑ ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการ ตอนที่ ๒ ว่าด้วยการเร่งคนรับคนเป็นทหาร ตอนที่ ๓ ว่าด้วยยศทหารเรือ โครงสร้างกำลังทางเรือ และการปรับปรุงด้านการศึกษา ในช่วงที่ทรงทำการในตำแหน่งเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ ในปี พ.ศ.๒๔๔๘ เสด็จใน กรมฯ ทรงจัดทำโครงการป้องกันประเทศทางด้านทะเลขึ้น ตามคำขอของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุน นครสวรรค์วรพินิต โดยทรงทำเสร็จในเดือนตุลาคม และให้ชื่อว่า "ระเบียบจัดการป้องกันฝ่ายทะเลโดยย่อ" มีความยาวประมาณ ๕ - ๖ หน้า และด้วยความพยายามของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต ผู้บัญชาการทหารเรือ ซึ่งทรงพระดำริเห็นชอบกับโครงการสร้างกำลังทางเรือของเสด็จในกรม ฯ ดังนั้น ในปี พ.ศ.๒๔๔๙ กรมทหารเรือจึงได้รับงบประมาณ ให้สั่งต่อเรือ ล. หรือ Torpedoboat Destroyer ๑ ลำ ซึ่งต่อมาได้รับพระบรมราชโองการให้เรียกว่า "เรือพิฆาฎตอรปิโด" และพระราชทานชื่อว่า "เสือทยานชล" พระองค์ได้ทรงแก้ไขปรับปรุงระเบียบการในโรงเรียนนายเรือ ทรงเป็นครูสอนนักเรียน นายเรือ และทรงริเริ่มการใช้ระบบปกครองบังคับบัญชาตามระเบียบการปกครองในเรือรบ คือ การแบ่งให้นักเรียนชั้นสูงบังคับบัญชาชั้นรองลงมา นอกจากนี้ ทรงจัดเพิ่มวิชาสำคัญสำหรับ ชาวเรือขึ้น เพื่อให้สำเร็จการศึกษา สามารถเดินเรือทางไกล ในทะเลน้ำลึกได้ คือ วิชาดาราศาสตร์ ตรีโกณมิติ อุทกศาสตร์ การเดินเรือ เรขาคณิต พีชคณิต ฯลฯ รวมทั้งโปรดให้สร้าง โรงเรียนช่างกลขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่ง นอกจากนั้นแล้วยังโปรดให้นักเรียนนายเรือฝึดหัดภาคปฏิบัติ นอกเหนือจากการเรียนภาคทฤษฎีขอพระราชทานพระราชวังเดิมเป็นโรงเรียนนายเรือ เสด็จในกรมฯ ทรงเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงที่สำคัญที่ทำให้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญและโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชวังเดิมให้เป็นที่ตั้งของ โรงเรียนนายเรือ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๙ ทำให้กิจการทหารเรือมีรากฐานมั่งคงนับ แต่นั้น และกองทัพเรือได้ยึดถือเอาวันดังกล่าวของทุกปีเป็นวัน "กองทัพเรือ" ต่อมาเมื่อโรงเรียน นายเรือได้ย้ายไปอยู่ที่ปากน้ำ กองทัพเรือก็ได้ใช้พระราชวังเดิมเป็นที่ตั้งของหน่วยราชการต่าง ๆ ในส่วนบัญชาการกองทัพเรือ จวบจนกระทั่งทุกวันนี้

การจัดตั้งกำลังอากาศนาวี ความคิดในการจัดตั้งกำลังทาง อากาศนาวี (Naval Air Arm) นั้น ได้มีมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๔ เมื่อเสด็จในกรมฯ ครั้งทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการกระทรวงทหารเรือ ทรงเสนอความเห็นต่อที่ประชุมสภาบัญชาการกระทรวงทหารเรือ ว่า "สมควรเริ่มตั้งกองบินทะเลขึ้น ในปี พ.ศ.๒๔๖๕ โดยใช้สัตหีบเป็นถาน (ฐานทัพ)" ซึ่ง สภาบัญชาการฯ มีมติอนุมัติข้อเสนอเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๔ ดังนั้น กองการบินทหารเรือ จึงได้ถือเอาวันที่ ๗ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสถาปนาหน่วย และชาวบินนาวี ได้ยึดถือว่า พระองค์ทรงเป็นองค์บิดาแห่งการบินนาวี ด้วย ฐานทัพเรือสัตหีบ จากการที่พระองค์ทรงเป็นนักยุทธศาสตร์ที่เล็งเห็นการณ์ที่ไกล พระองค์ได้ทูลเกล้า ขอพระราชทานที่เดินบริเวณอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เพื่อสร้างเป็นฐานทัพเรือเนื่องจากทรง พิจารณาแล้วเห็นว่า อ่าวสัตหีบเป็นอ่าวที่มีขนาดใหญ่น้ำลึกเหมาะแก่การฝึกซ้อมยิงตอร์ปิโดได้ และเกาะใหญ่น้อยที่รายรอบสามารถใช้บังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเรือภายนอกเมื่อแล่นผ่าน พื้นที่ดังกล่าวจะไม่สามารถมองเห็นฐานทัพเรือได้เลย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัว ได้ทรงพระราชทานที่ดินที่สัตหีบให้แก่กองทัพเรือเพื่อจัดตั้งเป็นฐานทัพเรือ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๕ ดังพระราชกระแสดังนี้"การ ที่จะเอาสัตหีบเปนฐานทัพเรือนั้น ตรงตามความปราถนาของเราอยู่แล้ว เพราะที่เราได้สั่งหวงห้ามที่ดินไว้ ก็ด้วยความตั้งใจจะให้เปนเช่นนั้น แต่เมื่อเห็นว่ายังไม่ ถึงเวลาที่จะใช้เป็นฐานทัพเรือและไม่อยากให้โจทย์กันวุ่น จึงได้กล่าวไว้ว่าจะต้องการที่ไว้ทำวังสำหรับเผื่อจะมีผู้ขอจับจองฝ่าย เทศาภิบาล จะได้ตอบไม่อนุญาตได้โดยอ้างเหตุ ว่าพระเจ้าอยู่หัวต้องพระราชประสงค์ เมื่อบัดนี้ ทหารเรือจะต้องการที่นั้นก็ยินดีอนุญาติได้"นอกจากพระกรุณาธิคุณของ นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากร เกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ดังที่ได้ได้กล่าวมาแล้ว พระองค์ยังทรงมีพระปรีชาสามารถ และมีคุณูปการอเนกอนันต์แก่กองทัพเรือ อาทิ พระองค์ทรงเป็นผู้บังคับการเรือ นำ เรือหลวงพระร่วงจากประเทศอังกฤษ เข้ามายังกรุงเทพมหานคร นับเป็นครั้งแรกที่นายทหารเรือไทยเดินเรือได้ไกลข้ามทวีป และเมื่อครั้งที่พระองค์ทรงเป็นผู้บังคับการเรือหลวงมกุฏราชกุมาร (ลำที่ ๑) นำนักเรียนนายเรือและนักเรียนนายช่างกลไปอวดธงที่ชวา ได้ทรงนำเรือแวะที่สิงคโปร์ และเปลี่ยนสีเรือมกุฏราชกุมารจากสีขาวเป็นสีหมอกให้เหมือนกับเรือรบต่าง ประเทศ เพื่อให้เกิดความกลมกลืนกับลักษณะของสีน้ำทะเลและภูมิประเทศ ซึ่งกองทัพเรือได้นำสีดังกล่าวมาใช้เป็นสีเรือทุกลำของกองทัพเรือตราบจน ปัจจุบัน
ในด้านการดนตรีพระองค์ ก็มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง เพลงพระนิพนธ์ ของกรมหลวงชุมพรฯ ทุกเพลง จะมีเนื้อหาปลุกใจ ให้มีความรักชาติ กล้าหาญ ยอมสละชีวิตเพื่อชาติ อาทิ เพลงดอกประดู่ เพลงเดินหน้า เพลงดาบของชาติ เป็นต้น ซึ่งเพลงพระราชนิพนธ์ของพรองค์ท่านนับว่าเป็นเพลงปลุกใจที่มีอายุยืนยาวที่ สุดในประวัติศาสตร์ของชาติไทย เพราะทหารเรือทุกนายได้ขับร้องเพลงเหล่านี้สืบต่อกันมาตราบจนปัจจุบันนับ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๘๐ ปี ดังนั้นจึงนับได้ว่าเพลงปลุกใจของพระองค์ จึงเป็นเพลงอมตะของทหารเรือ เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงเป็นอมตะอยู่ในจิตใจของทหารเรือ ตลอดเวลา ในด้านการแพทย์นอก จากพระองค์จะทรงเป็นนักยุทธศาสตร์แล้ว ด้านการแพทย์แผนโบราณ พระองค์ก็ทรงศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง โดยในขณะที่เสด็จในกรมฯ ได้ทรงออกจากประจำการชั่วคราว ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๕๔ - พ.ศ.๒๔๕๙ พระองค์ได้ทรงศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ ทรงเขียนตำรา ยาแผนโบราณลงในสมุดข่อยด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง โดยทรงตั้งชื่อตำรายาเล่มนี้ว่า "พระคัมภีร์อติสาระวรรคโบราณะกรรมและปัจจุบันนะกรรม" ซึ่งสมุดเล่มดังกล่าวปัจจุบันได้ถูก เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือสมุทรปราการ ในด้านการรักษาพยาบาล พระองค์ได้ทรงรักษาโรคภัยไข้เจ็บแก่คนทั่วไป โดยไม่เลือก คนจนหรือคนมี และมิได้คิดค่ารักษาหรือค่ายาแต่อย่างใด ทุกคนที่มีความเดือนร้อนจะต้องได้รับ ความเมตตาจากพระองค์ จนเป็นที่นับถือของบุคคลทั่วไปในนามพระองค์ว่า "หมอพร" นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงค์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักด์ ได้กราบบังคมทูลออกจากราชการ เพื่อพักผ่อนรักษาพระองค์ เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๖ เนื่องจากพระองค์ทรงมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ และประชวรพระโรคภายในอยู่ด้วย ทาง กระทรวงทหารเรือ ได้สั่งการให้จัดเรือหลวงเจนทะเลถวายเป็นพาหนะ และกรมแพทย์ทหารเรือ ได้จัดนายแพทย์ประจำพระองค์ ๑ นาย พร้อมด้วยพยาบาลตามเสด็จไปด้วย เสด็จในกรมฯ ได้เสด็จออกจากกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๖ ไปประทับอยู่ด้านใต้ปากน้ำชุมพรซึ่งเป็นที่ที่จองไว้จะทำสวน ขณะที่พระองค์ประทับอยู่นี้ก็เกิดพระโรคหวัดใหญ่เนื่องจาก ถูกฝน ประชวรอยู่เพียง ๓ วัน ก็สิ้นพระชนม์ที่ตำบลหาดทรายรี ในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๖ สิริพระชนมายุได้ ๔๔ พรรษา ในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๖ เรือหลวงเจนทะเลได้เชิญพระศพจากจังหวัดชุมพรมายังกรุงเทพมหานคร และมาพักถ่ายพระศพลงสู่เรือหลวง พระร่วงที่บางนา ต่อจากนั้นเรือหลวงพระร่วง ได้นำพระศพเข้ามายังกรุงเทพมหานคร และนำประดิษฐานไว้ที่วังของพระองค์ท่าน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทาน จนถึงวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศพไปพระราชทานเพลิง ณ พระเมรุท้องสนามหลวง ถึงแม้ว่า นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์บรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากร เกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จะสิ้นพระชนม์มาเป็นระยะเวลานานถึง ๗๙ ปี แล้วก็ตาม แต่พระกรณียกิจของพระองค์ที่ทรงทำคุณประโยชน์ให้แก่กองทัพเรืออย่างมหาศาล นั้น ทำให้กิจการของกองทัพเรือเจริญก้าวหน้ามาจนทุกวันนี้ พระองค์ทรงริเริ่มวางรากฐานกิจการ ทหาเรือไทยให้มีความเข้มแข็ง มั่นคงมีสมรรถภาพ สามารถทำหน้าที่เป็นรั้วของชาติทางทะเลได้ เป็นอย่างดีตลอดมา จนทหารเรือตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันต่างก็ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระองค์อย่างมิรู้ลืม จึงพร้อมใจกันถวายสมัญญานาม พระองค์ท่านว่า "องค์บิดาของ ทหารเรือไทย" และถือเอาวันที่ ๑๙ พฤษภาคมของทุกปี เป็น "วันอาภากร"



วันอาภากร

  พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ทรงได้รับสมัญญาเป็น องค์บิดาแห่งกองทัพเรือ ซึ่งทหารเรือยกย่องและเทิดทูนพระเกียรติคุณอย่างสูงสุด เนื่องจากพระองค์ทรงริเริ่มวางรากฐานกิจการทหารเรือและนำความเจริญมั่นคงและ รุ่งเรืองมีสมรรถภาพสู่กองทัพเรือเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป ทำให้ทัพเรือไทยทันสมัยมีมาตรฐาน และเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยะประเทศ
กอง ทัพเรือจึงกำหนดให้ 19 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น วันอาภากร ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ เพื่อเป็นการเทิดทูน เผยแพร่พระเกียรติคุณ และแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ท่าน

  พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อ 19 ธันวาคม 2423 เป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ผู้บัญชาการทหารเรือวังหลวง

 ทรง เป็นเจ้านายพระองค์แรกที่สำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือจากประเทศอังกฤษ ทรงมีจุดประสงค์แรงกล้าจะฝึกให้ทหารเรือไทยเดินเรือทะเลได้อย่างชาวต่าง ประเทศ และสามารถรบทางเรือได้ เนื่องจากอดีตประเทศไทยต้องว่าจ้างชาวต่างชาติมาเป็นผู้บังคับการเรือโดย ตลอด

 ภายหลัง พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สำเร็จการศึกษา และเข้ารับราชการทหารเรือแล้ว พระองค์ได้แก้ไขปรับปรุงระเบียบวิธีปฏิบัติในโรงเรียนนายเรือ ทรงเป็นครูสอนนักเรียนนายเรือ และริเริ่มการใช้ ระบบการปกครองบังคับบัญชา ตามระเบียบการปกครองในเรือรบ คือแบ่งให้นักเรียนชั้นสูงบังคับบัญชาชั้นรองลงมา
  นอกจากนี้ยังทรงจัดเพิ่ม วิชาสำคัญสำหรับชาวเรือขึ้นเพื่อให้สำเร็จการศึกษา สามารถเดินเรือ ทางไกลในทะเลน้ำลึกได้แก่ การเดินเรือ ดาราศาสตร์ ตรีโกณมิติ อุทกศาสตร์ เรขาคณิต พีชคณิต ฯลฯ

 เมื่อ พ.ศ.2462 พระองค์ทรงเป็นผู้บังคับการเรือ โดยนำ เรือหลวงพระร่วง จากประเทศอังกฤษ เข้ามายังกรุงเทพมหานคร นับเป็นครั้งแรกที่นายทหารเรือไทยเดินเรือได้ไกลข้ามทวีป ที่สำคัญพระองค์ทรงเป็นหัวเรี่ยวหัวเเรงที่สำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระ พุทธเจ้าหลวงทรงเห็นความสำคัญและโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชวังเดิม ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ เมื่อ 20 พ.ย. 2449 ทำให้กิจการทหารเรือมั่นคง (กองทัพเรือยึดวันดังกล่าวเป็น วันกองทัพเรือ)

  จากที่พระองค์ทรงเป็นนักยุทธศาสตร์ที่เล็งเห็นการไกล พระองค์ได้ทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานที่ดินบริเวณอำเภอสัตหีบ เพื่อสร้างเป็นฐานทัพเรือ เนื่องจากทรงพิจารณาว่า อ่าวสัตหีบเป็นอ่าวขนาดใหญ่น้ำลึกเหมาะแก่การฝึกซ้อมยิงตอร์ปิโดได้ และเกาะน้อยใหญ่ที่รายล้อมรอบสามารถบังคับคลื่นลมได้ดี อีกทั้งเรือภายนอกเมื่อแล่นผ่านพื้นที่จะไม่สามารถมองเห็นฐานทัพได้

  ด้านการแพทย์ ทรงศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจังและใช้เวลาหลังทรงเกษียณเสด็จไปรักษาโรคแก่ ประชาชนด้วยพระองค์เอง ไม่ว่าเป็นคนไทยหรือคนจีน จนกระทั่งชาวจีนย่านสำเพ็งซาบซึ้งในพระกรุณาธิคุณเรียกพระองค์ท่านว่า "เตี่ย" (พ่อ) ซึ่งต่อมาทหารเรือได้เรียกพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" ขณะที่คนไข้ชาวไทยมักเรียกพระองค์ว่า "หมอพร"

  พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงประชวร และสิ้นพระชนม์ ในขณะที่ประทับอยู่ที่หาดทรายรี ปากน้ำเมืองชุมพร เมื่อ 19 พฤษภาคม 2466 เวลา 11.40 น. ยังความโศกเศร้ามาสู่บรรดาทหารเรือยิ่งนัก

พระประวัติกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

          ปัจจุบันทหารเรือ ได้ยกย่อง พล.ร.อ. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เป็น " องค์บิดาแห่งกองทัพเรือ " ซึ่งนับเป็น การเทิดทูน พระเกียรติคุณ อย่างสูงสุด เนื่องจากพระองค์ ได้ทรงนำความ เจริญรุ่งเรือง มาสู่กองทัพเรือ และ ประเทศชาติ โดยทรงวางรากฐาน การบริหารงานของกองทัพเรือ  ระเบียบวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ภายในกองทัพเรือ  จนทำให้ทัพเรือไทย มีความทันสมัย มีมาตรฐาน และ เจริญก้าวหน้า ทัดเทียมกับ อารยะประเทศ มาจวบจนทุกวันนี้
          พล.ร.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ทรงมี พระนามเดิมว่า " พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ " เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ใน พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2423 เป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (  วร  บุนนาค  ) ผู้บัญชาการทหารเรือวังหลวง
           พล.ร.อ.พระ เจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพร เขตรอุดมศักดิ์ เป็นเจ้านายพระองค์แรก ที่สำเร็จการศึกษา วิชาการทหารเรือ  จากประเทศอังกฤษ พระองค์ทรงมีจุดประสงค์ อันแรงกล้าที่จะฝึก ให้ทหารเรือไทย เดินเรือทะเลได้อย่างชาวต่างประเทศ และ สามารถทำการรบ ทางเรือได้เนื่องจากในอดีต ประเทศไทย ได้ว่าจ้างชาวต่างชาติ มาเป็นผู้บังคับการเรือ มาโดยตลอด แม้แต่ในคราวที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จประพาสฯ ยุโรปครั้งแรก ก็ยังได้ว่าจ้าง " กัปตันคัมมิ่ง" และคณะนายทหาร เรืออังกฤษ เป็นผู้เดินเรือ
          ภายหลังจากที่พล.ร.อ. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สำเร็จการศึกษา และเข้ารับราชการ ทหารเรือแล้ว พระองค์ได้แก้ไข ปรับปรุงระเบียบการ  ในโรงเรียนนายเรือ ทรงเป็นครูสอนนักเรียนนายเรือ และริเริ่มการใช้ ระบบการปกครองบังคับบัญชา ตามระเบียบ การปกครองในเรือรบ คือการแบ่งให้นักเรียนชั้นสูง บังคับบัญชารองลงมา นอกจากนี้ยังทรงจัดเพิ่ม วิชาสำคัญสำหรับชาวเรือขึ้นเพื่อให้สำเร็จการศึกษา สามารถเดินเรือ ทางไกลในทะเลน้ำลึกได้คือ วิชา ดาราศาสตร์ ตรีโกณมิติ อุทกศาสตร์ การเดินเรือเรขาคณิต พีชคณิต ฯลฯ
           ในปี 2462 พระองค์ทรงเป็นผู้บังคับการเรือ โดยนำเรือหลวงพระร่วงจากประเทศอังกฤษ เข้ามายังกรุงเทพมหานคร นับเป็นครั้งแรกที่นายทหารเรือไทย เดินเรือได้ไกลข้ามทวีป ที่สำคัญพระองค์ทรงเป็นหัวเรี่ยวหัวเเรงที่สำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระ พุทธเจ้าหลวง ทรงเห็นความสำคัญ และโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชวังเดิม ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ เมื่อ วันที่  20  พ.ย. 2449 ทำให้กิจการทหารเรือมี รากฐานมั่นคงนับตั้งแต่บัดนั้น และกองทัพเรือจึงยึดถือ วันดังกล่าวของทุกปีเป็น "วันกองทัพเรือ"
          จากการที่พระองค์ ทรงเป็นนักยุทธศาสตร์ ที่เล็งเห็นการไกล พระองค์ได้ทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานที่ดินบริเวณอำเภอสัตหีบ เพื่อสร้างเป็นฐานทัพเรือ เนื่องจากทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า อ่าวสัตหีบเป็นอ่าว ที่มีขนาดใหญ่ น้ำลึกเหมาะแก่การฝึกซ้อม ยิงตอร์ปิโดได้และเกาะน้อยใหญ่ ที่รายล้อมรอบสามารถบังคับคลื่นลมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเรือภายนอกเมื่อแล่นผ่าน
พื้นที่ดังกล่าว จะไม่สามารถมองเห็นฐานทัพได้เลย

          นอกจากพระองค์ ทรงเป็นนักยุทธศาสตร์แล้ว ด้านการแพทย์พระองค์ ทรงศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง และเสด็จไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ให้กับประชาชนด้วยพระองค์เอง ไม่ว่าเป็นคนไทยหรือคนจีน จนกระทั่งชาวจีนย่านสำเพ็ง มีความทราบซึ้ง ในพระกรุณาธิคุณ  และได้เรียกพระองค์ท่านว่า "เตี่ย" ซึ่งหมายถึง พ่อ ทำให้ในเวลาต่อมาทหารเรือได้เรียกพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" สำหรับในหมู่คนไข้ชาวไทย ที่พระองค์รักษานั้น มักจะเรียกขานนามพระองค์ว่า "หมอพร"
          พล.ร.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงประชวร และสิ้นพระชนม์ ในขณะที่ประทับอยู่ที่หาดทรายรี ปากน้ำเมืองชุมพร เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2466 เวลา 11.40 น. ยังความโศกเศร้ามาสู่บรรดาทหารเรือยิ่งนัก


Share this post :

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

ป้ายกำกับ

โครงการ (68) ประชุม (31) ร่วมพิธี (31) ศึกษาดูงาน (31) กีฬา (18) ต้อนรับ (13) ทำเนียบบุคคลากร (13) ดูงาน (12) อวยพรปีใหม่ (11) งานเลี้ยง (10) มอบเกียรติบัตร (10) ตรวจเยี่ยม (9) เข้าเยี่ยมคารวะ (9) ทำเนียบผู้พิพากษา (8) ทำเนียบเจ้าหน้าที่ (7) ประวัติศาล (7) นักศึกษาฝึกงาน (6) ประสานความร่วมมือ (6) รับเสด็จ (6) เอกสารที่ต้องใช้ในการขอประกันตัว (6) จังหวัดเคลื่อนที่ (5) วันสำคัญ (5) MOU (4) กิจกรรม (4) อบรม (4) ตรวจศาล (3) ถวายพวงมาลัย (3) ประชาสัมพันธ์ (3) ประวัติศาล ภาค๙ (3) ฝึกอบรม (3) รายงานตัว (3) ศาลอื่นๆ (3) เยี่ยมแสดงความยินดี (3) โยกย้าย (3) Linkเว็บศาลยุติธรรม (2) งานศพ (2) ทำบุญตักบาตร (2) ทำเนียบข้าราชการตำรวจ (2) บันทึกเทป (2) ฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ (2) รดน้ำดำหัว (2) วันมหิดล (2) สักการะศาลพระภูมิ (2) Action (1) Adventure (1) video conference (1) งานแต่งงาน (1) ตรวจรับพัสดุ (1) ทำเนียบ รปภ. (1) ทำเนียบเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (1) บรรยาย (1) ประกาศ (1) ประชุมทางไกล (1) ประเพณีสงขลา (1) ปลดเผาสำนวน (1) วันรพี (1) วันเกิด (1) วารสาร (1) สรุปข่าวประจำเดือน (1) สัมมนา (1) เศรษฐกิจพอเพียง (1)

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Support : Creating Website By SU| |
Copyright © 2013. ศาลสงขลา - All Rights Reserved
Template Created by SU
Proudly powered by Blogger