5
1. ศาลจังหวัดกาญจนบุรี เริ่มเข้าสู่ระบบการไกล่เกลี่ยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2544 จนถึงปัจจุบัน
2. ศาลจังหวัดกาญจนบุรี มี ศูนย์ไกล่เกลี่ยเต็มตามรูปแบบ ประมาณ ปี 2545 เนื่องจากสำนักระงับข้อพิพาท ได้สนับสนุนเงินงบประมาณ มาจัดตั้งทำศูนย์ไกล่เกลี่ยที่บริเวณชั้น 3  ของศาลอยู่ติดกับห้องพักผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและห้องพักผู้พิพากษา ซึ่งไม่ปลอดภัยแก่ผู้พิพากษาและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนจึงได้ย้ายศูนย์ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทลงมา
อยู่บริเวณชั้น 1ของศาลจังหวัดกาญจนบุรี
3.ศาลจังหวัดกาญจนบุรี มีการสรรหาและคัดเลือกอาสาสมัคครไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน(อ.ก.ช.)จำนวน 99 คน เพื่อไกล่เกลื่ยก่อนที่จะมาเป็นคดีมาสุ่ศาลมีการแต่งตั้งผู้ประนีประนอมข้อ พิพาทประจำศาล จำนวน 6 ท่านด้วยกัน
4.วิธีการดำเนินงานของศูนย์ไกล่เกลี่ยฯ ประจำศาล
                 - ได้มีการจัดทำแผ่นพับขึ้น   ซึ่งเป็นคำแนะนำโครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลสำหรับประชาชนที่มาติด
ต่อราชการกับทางศาลได้ศึกษาและนำไปเผยแพร่กับบุคคลอื่นต่อไป ว่าศาลได้มีการนำระบบการไกล่เกลี่เข้ามาใช้ใน
ศาลเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
                 - ทุกวันอังคารของต้นเดือนของทุกๆ เดือน ได้มีการออกรายการวิทยุที่คลื่นความถี่ 107.25 MHz เพื่อเผย
แพร่เกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ และการติดต่อราชการของศาล เช่น การติดต่อขอประกันตัวผู้ต้องหาและระบบการไกล่เกลี่ย
ของศาลฯ  โดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาล  ผู้พิพากษา และนิติกรประจำศาล
5. ขั้นตอนการไกล่เกลี่ยของศาลจังหวัดกาญจนบุร
                 - เมื่อโจทย์มายื่นฟ้องต่อศาล ศาลประทับฟ้องแล้ว   ก็จะดำเนินการพิมพ์หนังสือเชิญชวนแนบไปพร้อมกับ
หมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้กับจำเลย
                 - เมื่อจำเลยประสงค์ที่จะให้ศูนย์ไกล่เกลี่ยฯ และโทรศัพท์มาสอบถาม ปรึกษากับเจ้าหน้าที่ี่หรือคดีที่ผู้
พิพากษาประจำศาลฯส่งสำนวนเข้าสู่ระบบการไกล่เกลี่ย เจ้าหน้าที่ก็จำนำสำนวนดังกล่าวมาพิจารณาดู หากเป็นคดีที่มี
ีทุนทรัพย์ที่สูง คดีที่มีข้อยุ่งยากซับซ้อนก็จะเรียนเชิญผู้ประนีประนอมประจำศาลมาทำช่วยทำการไกล่เกลี่ย  ในวันนัดไกล่
เกลี่ยโดยมีนิติกรจะเป็นผู้ช่วยเหลือเกี่ยวกับข้อกฎหมายหากคู่ความเป็นหน่วยงานของรัฐหรือพนักงานของรัฐก็จะเรียนเชิญ
ให้ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเป็นผู้ทำการเจรจาไกล่เกลี่ยให้
                 - ทางศูนย์ไกล่เกลี่ยฯ จะประสานงานกับคู่ความเพื่อกำหนดวันนัดไกล่เกลี่ยตามหนังสือแสดงความประสงค์
จะให้ศาลทำการไกล่เกลี่ย
                 - ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีเดียวกันหลายคน จำเลยคนใดคนหนึ่งติดต่อทางศูนย์ไกล่เกลี่ย เพื่อทำการ
ไกล่เกลี่ย เมื่อได้วันนัดแล้ว ทางศูนย์ไกล่เกลี่ยฯ จะส่งหนังสือแจ้งวันนัดการไกล่เกลี่ยให้กับจำเลยคนอื่นๆทราบเพื่อทำ
การไกล่เกลี่ย  ส่วนคดีที่โจทก์เป็นสถาบันการเงินที่มีผู้รับมอบ์ ในการดำเนินคดี ศูนย์ไกล่เกลี่ยฯก็จะทำหนังสือแจ้งวันนัด
ทำการไกล่เกลี่ยให้กับผู้รับมอบอำนาจทราบวันนัดในการไกล่เกลี่ย
                 - เมื่อไกล่เกลี่ยสำเร็จก็จะนำส่งสำนวนใหผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อไป


          การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หมายความว่าอย่างไรนั้น ตามพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายคำว่า "ไกล่เกลี่ย" ไว้ว่า
พูดจาให้ปรองดองกัน พูดจาให้ตกลงกัน ทำให้เรียบร้อย ทำให้มีส่วนเสมอ
กันดังนั้น  การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลจึงหมายถึง   การที่ผู้ไกล่เกลี่ย
ข้อพิพาท ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล คือตั้งแต่ศาลรับ
ฟ้องจนถึงก่อนมีคำพิพากษาถึงที่ก่อนมีคำพิพากษาศาลถึงที่สุด ให้กับ
คู่ความ (โจทก์,จำเลย) ผู้ำไกล่เกลี่ย จะเป็นผู้ช่วยเจรจา เสนอแนวทาง
เสนอแนะให้คู่ความปรองดองตกลงกันโดยมีจุดประสงค์ เืพื่อยังให้เกิด
การประนีประนอมยอมความ สามารถยุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้โดยการ
ตัดสินใจของคู่ความเอง

ผู้ไกล่เกลี่ย คือ    ผู้พิพากษาประจำศาลต่างๆ   ซึ่งผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
เป็นผู้มีความสนใจ มีความพร้อม และสมัครใจที่จะทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย ที่สำัคัํัญคุณลักษณะของ
ผู้พิพากษาคือความเป็นกลาง ไม่มีอคติ  สามารถให้ความเป็นธรรมกับคุ่ความทุกฝ่ายได้ถูกต้อง
ตรงตามประสงค์ของคู่ความ โดยในฐานะของผู้ไกล่เกลี่ยจะมิได้มีหน้าที่ตัดสินชี้ขาดข้อพิิพาท
เพียงแต่เป็นผู้ช่้วยเจรจาหาแนวทางเสนอแนะให้คู่ความยุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้นร่วมกันได้


ประเภทคดีที่เข้าสู่ระบบการไกล่เกลี่ย

  1. คดีแพ่ง
  2. คดีอาญาที่ยอมความกันได้   และคดีอาญาที่ราษฎรเป็น
โจทก์ซึ่งคู่ความอาจตกลงกันและมีการถอนฟ้อง

หลักการทั่วไป

            1. คู่ความจะต้องสมัครใจและเต็มใจจะใช้ระบบนี้ทั้งสองฝ่าย
ศาลจึงจะดำเนินการไกล่เกลี่ยได้
            2. หากมีการยกเลิกการเจรจา ข้อเท็จจริงที่มีการเจรจาไปแล้ว
และจะไม่ผูกมัดคู่ความในภายหลังและจะไม่มีการนำไปกล่าวอ้างในชั้น
พิจารณาของศาล
           3. ข้อตกลงที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นคู่ความทั้ง
สองฝ่ายจุต้องพอใจและไม่ขัดต่อกฎหมาย ผู้พิพากษาจึงจะรับรอง
สัญญาประนีประนอมยอมความนั้น


วิธีการนำระบบข้อพิพาทเข้าระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาล

        1. สำหรับคดีฟ้องใหม เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่แผนกรับฟ้องจะมีการสอบถามความสมัครสอบถามความสมัครใจของ
คู่ความ ซึ่งอาจจะเป็นตรายาวประทับสอบถามโจทก์ว่าคดีมีทางตกลงกันได้หรือไม่ และประสงค์จะให้ศาลไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
หรือไม่ในเวลาเดียวกันที่หมายเรียกซึ่งส่งให้จำเลยพร้อมสำเนาฟ้องนั้น เจ้าหน้าที่จะประทับตรายางมีข้อความว่า "โปรดยื่นคำ
ให้การภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด"   หากจำเลยประสงค์จะให้ศาลไกล่ประนีประนอมยอมความ ให้ติดต่อ
ศูนย์ไกล่
่เกลี่ยประจำศาลตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ระบุไว้ เป็นต้น
     
        2. สำหรับคดีที่อยู่ระหว่างพิจารณา แยกเป็น 3 กรณี
                2.1 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเห็นว่าสำนวนใดสมควรใช้ระบบไกล่เกลี่ย ก็สั่งให้นำคดีนั้นเข้าสู่ระบบการไกล่เกลี่ย
                2.2 ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเห็นว่าสมควรใช้ระบบไกล่เกลี่ยก็ส่งเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย
                2.3 คู่ความยื่นคำแถลงหรือแถลงด้วยวาจาขอใช้วิธีการไกล่เกลี่ยและผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนส่งสำนวนเข้าสู่ระบบ
การไกล่เกลี่ย

        3. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยผู้พิพากษา นอกจากระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทซึ่งศาลต่างๆ จัดให้มีขึ้นโดยแยก
ออกจากการพิจารณาคดีดังกล่าวมาแล้ว    ผู้พิพากษาซึ่งเป็นเจ้าของสำนวนที่พิจารณาตัดสินชี้ขาดคดีนั้นยังอาจดำเนินการ
ไกล่เกลี่ยคดีได้เอง ทั้งก่อนหรือในระหว่างพิจารณาคดี เพื่อให้คู่ความตกลงกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลจังหวัดกาญจนบุรีได้สร้างระบบไกล่เกลี่ยและวางหลักปฏิบัติดังนี้

แยกคน คือ แยกผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยออกจากผู้พิพากษาที่พิจารณาคดี กล่าวคือผู้พิพากษาที่ไกล่เกลี่ยนั้นจะต้อง
เป็นคนละคนกัน ทำให้คู่ความมั่นใจว่า ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีจะไม่รู้เห็นเหตุการณ์ในห้องไกล่เกลี่ย สิ่งที่ตนยื่นต่อรองหรือ
ยอมรับข้อเท็จจริงใด ๆ จะไม่มีผลต่อคดี หรือทำให้ผู้พิพากษาซึ้งต้องตัดสินคดีของตน มีอคติต่อตนเพราะ หากตกลงกันไม่ได้ ผู้ไกล่เกลี่ยต้องคืนสำนวนแก่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนพิจารณาคดีต่อไปตามปกติ


แยกสำนวน
ระบบนี้ แยกสำนวนไกล่เกลี่ยออกจากสำนวนเดิม โดยตั้งเป็นสำนวนใหม่ผูกติดกับสำนวนเดิม เพื่อไม่ให้ข้อเท็จจริง
ที่จดบันทึกไว้ในการไกล่เกลี่ยปรากฏในสำนวนเดิม ซึ่งหากคู่ความตกลงกันไม่ได้ ก็จะปลดสำนวนไกล่เกลี่ยออกเผาทำลายเสีย
เพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอ้างเป็นพยานหลักฐานได้นอกจากนี้หน้าสำนวนไกล่เกลี่ย ยังมีข้อกำหนดให้คู่ความรับทราบว่า "ข้อเท็จจริงและการดำเนินการในชั้นไกล่เกลี่ยไม่อาจนำไปใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินกระบวบพิจารณาใดๆ ได้ ให้ถือข้อเท็จ
จริงในการไกล่เกลี่ยนี้เป็นความลับและคู่ความทั้งสองฝ่ายสละสิทธิที่จะอ้างเป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดี"
ทำให้คู่ความมั่นใจได้ว่าแม้คดีตกลงกันไม่ได้ คดีของตนจะไม่เสียหาย หรือเสียเปรียบทำให้กล้าเปิดเผยข้อเท็จจริงเต็มที่

แยกห้อง
ศาลจังหวัดกาญจนบุรี ได้จัดห้องไกล่เกลี่ยแยกออกจากห้องพิจารณาคดี มีลักษณะเป็นห้องประชุมขนาดเล็ก และห้อง
เจ้าหน้าที่ซึ้งอยู่ชั้นล่าง แยกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะไม่พลุกพล่าน จัดตั้งที่นั่งเป็นโต๊ะประชุมขนาดพอเหมาะกับห้อง ปูพรมติด
เครื่องปรับอากาศ และมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกพร้อม เช่น โทรศัพท์สายตรง เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องรับส่งโทรสาร และมีเจ้าหน้าที่คอยบริการตลอดเวลา รวมทั้งจัดน้ำดื่มให้ในขณะเจรจา ซึ่งจะทำให้บรรยากาศเป็นกันเอง เป็นส่วนตัว เอื้ออำนวยต่อการเจรจา คู่ความและผู้พิพากษาจะมีสมาธิในการเจรจา หากคู่ความมีข้อหารือกับผู้ใดก็สามารถโทรศัพท์ติดต่อ
ได้ทันที และหากต้องการรายละเอียดก็สามารถส่งโทรสารไปได้ ผู้พิพากษาและทนายความในห้องนี้ไม่สวมเสื้อครุย

ประโยชน์ของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

สะดวก  เป็นวิธีการที่ไม่มีรูปแบบพิธีการมากทำให้เกิดความคล่องตัวในการใช้บริการ
รวดเร็ว   ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน
ประหยัด  ไม่ต้องเสียค่าใช้บริการที่เกิดจากการไกล่เกลี่ย
เป็นธรรม  ข้อตกลงที่ได้เกิดจากการตกลงยินยอมของทั้งสองฝ่าย
รักษาสัมพันธภาพอันดีของคู่ความไว้ได้ สามารถทำธุรกิจหรือประกอบการร่วมกันต่อไปได้อีก เพราะการไกล่เกลี่ย
ช่วยประสานความบาดหมางให้กลับคืนดีกัน

ประโยชน์อื่น ๆ การลดค่าธรรมเนียมศาลและในกรณีข้อพิพาททางการเงินอาจรวมถึงการได้รับยกเว้นภาษีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ    จากกรณีที่รัฐบาลมีมาตรการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ NPLs  (หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้)
" ผังกระบวนการ การไกล่เกลี่ยของศาลฯ "

     
pic
http://www.kcbc.coj.go.th/backup/Klaikia/images/scan0014.jpg
ติดต่อ...ศูนย์ไกล่เกลี่ยศาลจังหวัดกาญจนบุรี
ศาลจังหวัดกาญจนบุรี
ถนนแม่น้ำแม่กลอง ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71000
0-3456-4354-56 ต่อ 234,237
Share this post :

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

ป้ายกำกับ

โครงการ (68) ประชุม (31) ร่วมพิธี (31) ศึกษาดูงาน (31) กีฬา (18) ต้อนรับ (13) ทำเนียบบุคคลากร (13) ดูงาน (12) อวยพรปีใหม่ (11) งานเลี้ยง (10) มอบเกียรติบัตร (10) ตรวจเยี่ยม (9) เข้าเยี่ยมคารวะ (9) ทำเนียบผู้พิพากษา (8) ทำเนียบเจ้าหน้าที่ (7) ประวัติศาล (7) นักศึกษาฝึกงาน (6) ประสานความร่วมมือ (6) รับเสด็จ (6) เอกสารที่ต้องใช้ในการขอประกันตัว (6) จังหวัดเคลื่อนที่ (5) วันสำคัญ (5) MOU (4) กิจกรรม (4) อบรม (4) ตรวจศาล (3) ถวายพวงมาลัย (3) ประชาสัมพันธ์ (3) ประวัติศาล ภาค๙ (3) ฝึกอบรม (3) รายงานตัว (3) ศาลอื่นๆ (3) เยี่ยมแสดงความยินดี (3) โยกย้าย (3) Linkเว็บศาลยุติธรรม (2) งานศพ (2) ทำบุญตักบาตร (2) ทำเนียบข้าราชการตำรวจ (2) บันทึกเทป (2) ฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ (2) รดน้ำดำหัว (2) วันมหิดล (2) สักการะศาลพระภูมิ (2) Action (1) Adventure (1) video conference (1) งานแต่งงาน (1) ตรวจรับพัสดุ (1) ทำเนียบ รปภ. (1) ทำเนียบเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (1) บรรยาย (1) ประกาศ (1) ประชุมทางไกล (1) ประเพณีสงขลา (1) ปลดเผาสำนวน (1) วันรพี (1) วันเกิด (1) วารสาร (1) สรุปข่าวประจำเดือน (1) สัมมนา (1) เศรษฐกิจพอเพียง (1)

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Support : Creating Website By SU| |
Copyright © 2013. ศาลสงขลา - All Rights Reserved
Template Created by SU
Proudly powered by Blogger