7 สิงหาคม "วันรพี"

7 สิงหาคม "วันรพี"

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์

กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

วันประสูติ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2417

วันสิ้นพระชนม์ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463

พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระมารดา เจ้าจอมมารดาตลับ เกตุทัต

พระชายา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง

                                                         อรพัทธ์ประไพ (หย่า)

หม่อม หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา

หม่อมแดง รพีพัฒน์ ณ อยุธยา

หม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช

บุตร 13 พระองค์

ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี





พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

(21 ตุลาคม พ.ศ. 2417 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463)

ทรงเป็นต้นราชสกุลรพีพัฒน์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาตลับ เกตุทัต

 โดยทรงมีพระเชษฐภคินีคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณี

รัชกัญญา ทรงเป็นผู้วางรากฐานด้านกฎหมายในเมืองไทย จนได้รับ

พระสมัญญานามว่า "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย"





พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงเข้าศึกษาวิชาภาษาไทยครั้งแรกในสำนัก

พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) เมื่อทรงผ่านการศึกษาแล้วได้

ทรงเข้าศึกษาภาษาอังกฤษชั้นต้น ในสำนักครูราม สามิ และในปี พ.ศ. 2426

ได้ทรงเข้าศึกษา ภาษาไทยอยู่ในสำนักพระยาโอวาทวรกิจ (แก่น) เปรียญ

ณ พระตำหนักสวนกุหลาบ ในปี พ.ศ. 2427 ได้ทรงผนวชเป็นสามเณรประทับ

อยู่วัดบวรนิเวศ





เมื่อปลายปี พ.ศ. 2431ได้เสด็จไปประเทศอังกฤษ และทรง

เข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมอยู่ในกรุงลอนดอน 3 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้

ทรงเลือกศึกษาวิชา กฎหมายต่อที่วิทยาลัยไครส์ตเชิช

ในมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด เมื่อ พ.ศ. 2433 เมื่อได้ทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัย

ไครส์ตเชิช แล้วได้ ทรงอุตสาหะเอาพระทัยใส่เป็นอย่างมาก ในที่สุดได้

ทรงสอบไล่ได้ตามหลักสูตรชั้นปริญญาเกียรตินิยม ในทางกฎหมายของ

มหาวิทยาลัยแห่งนั้นจึงเสด็จกลับกรุงเทพฯ

ทางด้านชีวิตส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง

โปรดเกล้าฯ ให้ทรงเสกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพัทธ์

ประไพพระธิดาองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี

กรมพระจักรพรรดิพงศ์ แต่ทรงมีชีวิตร่วมกันเพียงไม่นานก็หย่าขาดจากกัน

หลังจากนั้นกทรงรับหม่อมอ่อนเป็นชายา หลังจากนั้นทรงมีหม่อมอีก

 2 พระองค์ คือ หม่อมแดงและหม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช สิ้นพระชนม์

ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 พระชนมายุ 47 ปี






พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเริ่มรับราชการในสำนักราชเลขาธิการ และได้รับ

แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี ทรงประกอบพระกรณียกิจ อันเป็นคุณประโยชน์

โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อวงการกฎหมายไทยและศาลสถิตยุติธรรม ทรงดำรง

ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และสภานายกในกองข้าหลวงพิเศษ จัดการ

ปรับปรุงศาลยุติธรรมสู่ระบบใหม่ จัดตั้งศาลมณฑล และศาลจังหวัดทั่วประเทศ,

ทรงเป็นประธานกรรมการตรวจชำระกฎหมาย ประมวลขึ้นเป็นกฎหมายอาญา

ฉบับ ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451) , ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายเพื่อเปิดการ

สอนกฎหมาย ทรงรวบรวมและแต่งตำราคำอธิบายกฎหมายลักษณะต่างๆ

มากมาย และทรงสอนวิชากฎหมายด้วยพระองค์เอง, ทรงเป็นกรรมการตรวจ

ตัดสินความฎีกาซึ่งเทียบได้กับศาลฎีกาในปัจจุบัน, เมื่อ พ.ศ. 2443 ทรงตั้ง

กองพิมพ์ลายมือขึ้น สำหรับตรวจลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหาในคดีอาญา

ตำแหน่งสุดท้ายทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ทรงปรับปรุงกิจการ

กรมทะเบียนที่ดิน



การรับราชการในตำแหน่งที่สำคัญ

เริ่มรับราชการในสำนักราชเลขานุการ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี

-เป็นสภานายกในกองข้าหลวงพิเศษ เพื่อจัดการแก้ไขธรรมเนียมศาลยุติธรรม

หัวเมืองทั้งปวง และสะสางคดีความทั่วราชอาณาจักร

-เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ในขณะที่มีพระชนม์มายุเพียง 22 ชันษาเท่านั้น

พระองค์ได้ทรงมุ่งมั่นในการปรับปรุงแก้ไขระเบียบศาล และงานยุติธรรมของ

ประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าเท่าทันต่างประเทศ นับว่าพระองค์

ทรงเป็นเสนาบดีที่ทรงมีพระชนมายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย

-เป็นประธานกรรมการตรวจชำระกฎหมาย

-เป็นกรรมการตรวจตัดสินความฎีกา

-เป็นกรรมการตรวจตำแหน่งพนักงานในรัฐบาล

-เป็นกรรมการตรวจร่างกฎหมายลักษณะอาญา

-ในปีพุทธศักราช 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา

โปรดเกล้าฯ ให้เสร็จในกรม ฯ กลับรับราชการเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตรธิการ

ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 4 มีนาคม พุทธศักราช 2455 และทรง

ดำรงตำแหน่งเพียงปีเดียวก็ได้รับพระบรมราชโองการเลื่อนขึ้นเป็นพระเจ้า

พี่ยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน

พุทธศักราช 2455


ใน พ.ศ. 2440 พระองค์ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายในประเทศไทย

ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยยืมสถานที่ของกระทรวงยุติธรรมเป็นสถานที่สอน ในการ

ดำเนินการสอนของพระองค์ท่านได้ประสบปัญหาอย่างมาก เนื่องจาก

ในขณะนั้นประเทศไทยยังไม่มีบุคคลากรที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายนัก

พระองค์จึงทรงต้องคัดเลือกและสอนนักเรียนเองทุกวิชา แต่พระองค์ก็ไม่เคย

ย่อท้อแม้แต่น้อย จนกระทั่งปลาย พ.ศ. 2440 จึงเปิดให้สอบไล่ในระดับชั้น

เนติบัณฑิตเป็นครั้งแรก เพื่อให้เนติบัณฑิตเหล่านี้ได้นำสิ่งที่เรียนมาไป

แบ่งเบาภาระของพระองค์

ปัญหาอีกอย่างหนึ่งสำหรับศาลไทยในเวลานั้น คือ เรื่องของศาลกงสุลต่างชาติ

ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในเมืองไทยเป็นที่รู้กันว่าชาวต่างพวกนี้มีอำนาจ

อิทธิพลมากเวลาเกิดคดีความ ข้อโต้แย้งขึ้นมาก คนไทยมักตกเป็นฝ่าย

เสียเปรียบ เพราะชาวต่างชาติมักอ้างว่ากฎหมายยังล้าหลังไม่ทันสมัยเพื่อเป็น

ข้ออ้างเอาเปรียบคนไทย ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้พิพากษาและ

เจ้าหน้าที่ศาลไทยยังไม่พร้อมที่จะรับข้อกฎหมายใหม่ ๆในเวลานั้น

พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยการจ้างชาวต่างชาติมาเป็น

ผู้พิพากษาเป็นเหตุให้ผู้พิพากษาศาลไทยเกิดความกระตือรือร้นเร่งศึกษาวิชา

กฎหมายไทยและต่างประเทศทำให้ศาลไทยมีความเชื่อถือมากขึ้นและเป็นที่

ยอมรับของชาวต่างชาติ ถึงกับยกเลิกศาลกงสุลยอมให้คนชาติตัวเองมาขึ้น

ศาลไทยในส่วนการแก้ไขตัวบทกฎหมายนั้น ได้ทรงกราบบังคมทูล

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัวให้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

คณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ตรวจชำระพระราชกำหนด

บทพระอัยการ ตลอดจนจัดระเบียบกฎหมายที่ใช้มาเป็นเวลานานจนล้าสมัย

เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสศึกษาและเข้าใจตัวกฎหมายได้ง่ายขึ้น และเพื่อ

สะดวกต่อการพิจารณาคดีทั้งปวง คณะกรรมการชุดที่ว่านี้ประกอบไปด้วย

 ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายทั้งฝ่ายไทยและต่างประเทศโดยทรงเป็นองค์ประธาน

คณะกรรมการเองการยกเครื่องกฎหมายในครั้งนั้น  กล่าวได้ว่า ทรงเป็น

หัวเรือใหญ่ในการร่างกฎหมายอย่างแท้จริง จนประสบความสำเร็จเป็น

ประมวลกฎหมายไทยฉบับแรก ซึ่งต่อมาเมื่อมีการประกาศการใช้กฎหมายแล้ว

 ยังได้ทรงเขียนอธิบายตัวบทกฎหมายให้มีความเข้าใจได้อย่างชัดเจน

ยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อสะดวกต่อการศึกษา และให้เกิดการตีความตรงกับเจตนารมณ์

ของผู้ร่างอันถือเป็นรากฐานสำคัญของการก่อตั้งวิชานิติศาสตร์ของ

มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในปัจจุบันต่อมาคณะกรรมการชุดดังกล่าวยังได้

ตรากฎหมายขึ้นมาใช้อีกหลายฉบับจนกระทั่งได้ยกฐานะเป็น

กรมร่างกฎหมายและพัฒนากลายมาเป็นคณะกรรมการกฤษฎีกาในทุกวันนี้

นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2441 ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นกรรมการในศาล

กรรมการฎีกาหรือศาลฎีกาในปัจจุบัน มีหน้าที่คอยตรวจตัดสินความฎีกา

ซึ่งเป็นศาลสูงสุดของประเทศ "ชีวิตของฉันเกิดมาเพื่อรับใช้ประเทศชาติ"

จะเห็นได้ว่าตลอดเวลาที่อยู่ในตำแหน่งเสนาบดี 14 ปีได้ทรงปฏิบัติหน้าที่

อย่างเต็มพระกำลังสามารถและมีพระวิริยะอุตสาหะในการทำงานมาโดยตลอด

โดยไม่ได้ย่อท้อต่ออุปสรรคและความเหน็ดเหนื่อย





ในปี พ.ศ. 2462ได้ทรงได้รับพระราชทานอนุญาต ให้ลาพักราชการใน

ตำแหน่งเสนบดีกระทรวงเกษตราธิราชเพื่อรักษาพระองค์ด้วย ทรงประชวรด้วย

พระวัณโรคที่พระวักกะ และเสด็จไปรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส

แต่อาการหาทุเลาไม่ ในที่สุดได้เสด็จสิ้นพระชนม์ ณ กรุงปารีส

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2463 พระชนมายุได้ 47 พรรษา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงเป็นนักนิติศาสตร์

ผู้ยึดมั่นใน ความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่งยวด ทรงถือว่าความซื่อสัตย์สุจริต

 เป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะสำหรับนักกฎหมาย และทรงจัดตั้ง

โรงเรียน กฎหมายและเป็นผู้สอนวิชากฎหมายด้วย พระองค์เอง เพื่อที่จะให้มี

ผู้รู้กฎหมายมากขึ้นทรงจัดวางระเบียบศาลยุติธรรมสู่ระบบใหม่

ทรงรวบรวมกฎหมาย และคำพิพากษาฎีกาพร้อมแต่งตำราอธิบายกฎหมายต่าง ๆ

 มากมายการค้นคว้ารวบรวมและพระนิพนธ์ได้เป็นรากฐานก่อตั้งการศึกษา

นิติศาสตร์ขึ้นในประเทศไทยอันเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งแก่ประเทศชาติจึงทรง

ได้รับยกย่องให้เป็น "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย" และเรียกวันที่ 7 สิงหาคม

อันเป็นคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ ทุกปีว่า "วันรพี"














คนเราควรจะให้ แต่ไม่ควรจะขออะไรจากคนอื่น

ควรจะกินพอประมาณ ไม่ควรจะมากไปถึงกับท้องกาง

ควรจะช่วยเหลือคนอื่น ไม่ใช่เหยียบย่ำ

ควรรับใช้ ไม่ควรคิดเป็นนายคน......
Share this post :

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

ป้ายกำกับ

โครงการ (68) ประชุม (31) ร่วมพิธี (31) ศึกษาดูงาน (31) กีฬา (18) ต้อนรับ (13) ทำเนียบบุคคลากร (13) ดูงาน (12) อวยพรปีใหม่ (11) งานเลี้ยง (10) มอบเกียรติบัตร (10) ตรวจเยี่ยม (9) เข้าเยี่ยมคารวะ (9) ทำเนียบผู้พิพากษา (8) ทำเนียบเจ้าหน้าที่ (7) ประวัติศาล (7) นักศึกษาฝึกงาน (6) ประสานความร่วมมือ (6) รับเสด็จ (6) เอกสารที่ต้องใช้ในการขอประกันตัว (6) จังหวัดเคลื่อนที่ (5) วันสำคัญ (5) MOU (4) กิจกรรม (4) อบรม (4) ตรวจศาล (3) ถวายพวงมาลัย (3) ประชาสัมพันธ์ (3) ประวัติศาล ภาค๙ (3) ฝึกอบรม (3) รายงานตัว (3) ศาลอื่นๆ (3) เยี่ยมแสดงความยินดี (3) โยกย้าย (3) Linkเว็บศาลยุติธรรม (2) งานศพ (2) ทำบุญตักบาตร (2) ทำเนียบข้าราชการตำรวจ (2) บันทึกเทป (2) ฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ (2) รดน้ำดำหัว (2) วันมหิดล (2) สักการะศาลพระภูมิ (2) Action (1) Adventure (1) video conference (1) งานแต่งงาน (1) ตรวจรับพัสดุ (1) ทำเนียบ รปภ. (1) ทำเนียบเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (1) บรรยาย (1) ประกาศ (1) ประชุมทางไกล (1) ประเพณีสงขลา (1) ปลดเผาสำนวน (1) วันรพี (1) วันเกิด (1) วารสาร (1) สรุปข่าวประจำเดือน (1) สัมมนา (1) เศรษฐกิจพอเพียง (1)

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Support : Creating Website By SU| |
Copyright © 2013. ศาลสงขลา - All Rights Reserved
Template Created by SU
Proudly powered by Blogger