ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2011 ณ.ศาลจังหวัดสงขลา

    เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 ผู้พิพากษา พร้อมด้วย ข้าราชการ และลูกจ้างศาลจังหวัดสงขลา

เข้ารับการฉีด วัคซีน ป้องกันไว้หวัดใหญ่ 2011 ณ. ห้อง ไกล่เกลี่ย 2 ชั้น 2 บริเวณ ศาลจังหวัดสงขลา

   

ไข้หวัดใหญ่ 2011 อาการ ไข้หวัด 2011 สัญญานและอาการผู้ติดเชื้อ

    ไข้หวัดใหญ่ 2011 สัญญาน และอาการของคนที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัด 2011 สายพันธ์ใหม่ ชนิด A 2009 H1N1 ที่ระบาดในประเทศเม็กซิโก อาการ ไข้หวัด 2011

ไข้หวัดใหญ่ 2009อาการไข้หวัดใหญ่ 2011 ในคนนั้นมีอาการ คล้ายกันกับอาการของคนที่เป็นหวัดปกติ และมีอาการต่อไปนี้คือ มีไข้ ท้องเสีย เจ็บคอ  ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดศรีษะ หนาว และ ไม่มีเรี่ยวแรง อ่อนล้า ร่วมด้วย ในบางคนมีอาการท้องเสียร่วมกับอาเจียน  และในอดีตมีรายงานว่าผู้ป่วยหลายคนมีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นปอดบวม และ ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด เช่นเดียวกันกับหวัด ที่ไข้หวัดใหญ่ 2011 อาจจะแย่ลงจนต้องมีสภาพการเรื้อรัง
ผู้ที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2011 ควรได้รับการพิจารณาถึงศักยภาพในการติดเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ 2011 ระยะ เวลาความยาวนานของการฟักเชื้อจนมีอาการ  และความเป็นไปได้ของอาการป่วยที่ยาวนานถึง 7 วัน เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กอาจได้รับเชื้อเป็นเวลานาน





ถ้าเพื่อนติดหวัด...เราจะวางตัวอย่างไร

ถ้าตอนนี้เพื่อนของเราไม่สบาย เราอาจไม่แน่ใจว่า เพื่อนของเราป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดา หรือว่าเป็น ไข้หวัดใหญ่ 2011 ซึ่งเป็นโรคที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ เพราะฉะนั้นทางที่ดีช่วงนี้ก็ให้ห่างกันสักพัก ไม่ได้รังเกียจนะ แต่รักกันก็ต้องห่วงใยกัน ถ้าจำเป็นต้องเจอหรือพูดคุยกัน ก็มีคำแนะนำในการวางตัวระหว่างเรากับเพื่อนที่เป็นหวัดมาฝาก 4 วิธีง่ายๆ ด้วยกัน ลองนำไปปฏิบัติกันดูเพื่อช่วยลดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2011
ไข้หวัดใหญ่ 2009 อาการ ไข้หวัด 2009 สัญญานและอาการผู้ติดเชื้อ รูปที่ 2


สัญญานเตือนภัย ไข้หวัด 2011
ที่จะบ่งบอกถึงการต้องเข้า รับการรักษา อย่างเร่งด่วนที่ต้องสังเกตมีดังนี้ ในเด็ก หากเด็กมีอาการหายใจเร็ว หรือหายใจลำบาก  ผิวหนังเป็นจ้ำสีน้ำเงิน ดื่มน้ำน้อยไม่เพียงพอ ปลุกไม่ตื่น หรือไม่มีอาการตอบสนอง  มีอาการงอแงไม่ยอมให้อุ้ม  มีไข้เฉียบพลัน หรือมีอาหารหวัด ไออย่างรุนแรง  หากมีอาการเหล่านี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ ต้องรีบเข้ารับการรักษาทันที ในผู้ใหญ่ สัญญานเตือนภัยที่จะต้องรีบรักษาเช่นกันคือ อาการหายใจลำบาก หรือหายใจถี่ เจ็บ แน่นหน้าอกหรือช่องท้อง วิงเวียน หน้ามืด  และอาเจียนอย่างรุนแรง หรืออาเจียนเป็นเลือด  หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบรักษาอย่างเร่งด่วน

..................................................................................................................................................

Mr.Flu2009 มารู้จัก วัคซีน "ไข้หวัด2011" กันเถอะ


วัคซีน ป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2011 ที่หลายประเทศกำลังเร่งผลิตและทดลองกันอยู่ในขณะนี้ กลายเป็นความหวังของคนทั่วโลก ในยามที่โรคอุบัติใหม่ดังกล่าวกำลังระบาดอยู่ในตอนนี้ ขณะที่นักวิจัยของไทยเองได้มีการสร้างเชื้อไวรัสสำหรับผลิตวัคซีนเองเหมือน กัน ทั้งวัคซีนชนิด เชื้อเป็นและ เชื้อตาย แต่วัคซีนชนิดไหนดี เด่น หรือด้อย อย่างไร คงต้องลองเปรียบเทียบดูหลายๆ ปัจจัย อาทิเช่น
ผลิตจากอะไร?

วัคซีนเชื้อเป็น : ผลิต มาจากเชื้อไวรัส ไข้หวัดใหญ่ เอช1 เอ็น1 ที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่เป็นชนิดที่อ่อนแรงไม่ก่อให้เกิดโรค นำมาเลี้ยงเพิ่มจำนวนแล้วนำไปใช้เป็นวัคซีนได้เลย

วัคซีนเชื้อตาย :
เป็น การ นำเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เอช1 เอ็น1 2011 มาพัฒนาด้วยเทคนิคทางพันธุกรรม สร้างไวรัสตัวใหม่ที่ไม่ก่อโรคขึ้นมา นำไปเลี้ยงเพิ่มจำนวนแล้วทำให้ตาย เหลือแต่ส่วนผิวซึ่งมีลักษณะจำเพาะของไวรัสที่ใช้กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ แล้วจึงนำไปทำเป็นวัคซีนต่อไป

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009วิธีการใช้?

วัคซีนเชื้อเป็น : ใช้วิธีฉีดพ่นใส่โพรงจมูก

วัคซีนเชื้อตาย : ฉีดผ่านทางกล้ามเนื้อใต้ผิวหนัง

สามารถขับออกจากร่างกายได้หรือไม่?

วัคซีนเชื้อเป็น : เชื้อไวรัสที่อ่อนแรงนี้ออกมากับน้ำมูก น้ำลายได้

วัคซีนเชื้อตาย : ไม่มีเชื้อไวรัส

จุดเด่น?

วัคซีนเชื้อเป็น : สามารถ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว และสามารถผลิตได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ ภายในเวลาอันสั้น แถมยังมีต้นทุนต่ำอีกด้วย

วัคซีนเชื้อตาย : ข้อดี ของวัคซีนเชื้อตายคือปลอดภัย 100% เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไม่ก่อให้เกิดโรคหรืออาการเจ็บป่วยใดๆ สามารถให้ได้เกือบทุกคน โดยไม่มีอาการแพ้

ข้อจำกัดของวัคซีน?

วัคซีนเชื้อเป็น : ห้าม ใช้กับคนบางกลุ่ม เช่น ผู้ที่แพ้ไข่ หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ และผู้ที่มีความบกพร่องของ ภูมิคุ้มกัน

วัคซีนเชื้อตาย : หลัง จากฉีดแล้ว ค่อนข้างต้องใช้เวลานานในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายและต้นทุนในการ ผลิตก็สูง จำนวนที่ผลิตได้ในแต่ละครั้งต้องใช้เวลามากและได้วัคซีนค่อนข้าง น้อย และอาจสร้างภูมิคุ้มกันได้ไม่ดีเท่ากับวัคซีนเชื้อเป็น

ไม่ ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดไหน ก็ขอให้คนไทยทำสำเร็จ สามารถนำมาใช้กับคนได้จริงๆ สำหรับตอนนี้ในขณะที่วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2011 ยังไม่มี พวกเราก็ต้องใช้วิธีดูแลตัวเองไปก่อน พยายามป้องกันอย่าให้ป่วยเป็นโรคนี้ ด้วยการล้างมือบ่อยๆ หากยังไม่ได้ล้างมือก็อย่านำมือมาขยี้ตา แคะจมูก หรือหยิบสิ่งของเข้าปาก ไอจามใส่กระดาษทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้า และร่วมรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการสวมหน้ากากอนามัยทันทีที่ไม่สบายหรือเป็น หวัด สำหรับคนปกติหากเข้าที่แออัดก็ควรสวมหน้ากากอนามัยเช่นกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองรับเชื้อโรคโดยไม่รู้ตัว หากพวกเรา
“รวมพลังกันสู้หวัด” ตามมาตรการเหล่านี้อย่างเคร่งครัด เชื่อว่า เราจะสามารถเอาชนะเจ้าไข้หวัด2011 ได้อย่างแน่นอน
.................................................................................................................................................
 
Mr.Flu2009 1+1 ใน 5 = สัญญาณอันตราย

วิธีง่ายๆ ที่ใช้สังเกตอาการไข้หวัด 2011

ลดความกังวลใจ ลดความเสี่ยงในการไปโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น
ถ้ามีไข้สูง 38 องศาเซลเซียส ร่วมกับ ไอ เจ็บคอ ให้ดูว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นหนักหรือเปล่า ถ้าใช่ต้องไปหาหมอทันที
ถ้าไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง (ข้อมูลกลุ่มเสี่ยงอยู่ในหมวดการรักษา) ในเบื้องต้นให้กินยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้
ถ้า กินยาพาราเซตามอลแล้ว อาการขั้นแรกยังมีอยู่ นั่นคือ ไข้สูง ไอ เจ็บคอ แล้วก็มีอาการเพิ่มเติมเพียงแค่ 1 ใน 5 สัญญาณอันตราย ก็ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน นั่นคือ
1. ปวดหัวมากแม้กินยาพาราเซตามอลก็ยังไม่ดีขึ้นนัก
2. เบื่ออาหารอย่างมาก ไม่อยากกินอะไรเลย น้ำก็ไม่อยากดื่ม
3. เหนื่อย อ่อนเพลียและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก
4. ไอแล้วเหนื่อย หรือไอแล้วเจ็บเฉพาะที่ ไอแล้วเจ็บหน้าอก
5. มีอาการท้องเสียหรืออาเจียน

เรียก ว่าถ้ามี 1 อาการหลัก(ไข้ ไอ เจ็บคอ) ร่วมกับอาการที่เป็นสัญญาณอันตราย อย่างน้อย 1 ใน 5 ดังกล่าวก็ต้องรีบไปหาหมอโดยด่วน จำไว้ว่า 1+1 ใน 5 = สัญญาณอันตราย
*แต่ ถึงแม้จะไม่มีอาการร่วม 1 ใน 5 สัญญาณอันตราย แต่ถ้าพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน 2 วัน แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นแม้แต่น้อย ก็จะต้องไปหาหมอเช่นกัน

ห้ามกินยาแอสไพรินเด้ดขาด ห้ามกินยาแอสไพรินโดยเด็ดขาด

เพราะอาการของไข้หวัดใหญ่นั้นจะใกล้เคียงกับไข้เลือดออก ซึ่งถ้าเป็นไข้เลือดออกหากเรากินยาแอสไพรินเข้าไปอาจทำให้ภาวะเลือด ออกรุนแรงขึ้นหรือเลือดออกมากขึ้น แต่ถ้าเป็นไข้หวัดใหญ่การกินยาแอสไพริน อาจจะทำให้เกิดอาการ สมองบวม ปวดหัว จนถึงไม่รู้สึกตัวและในบางรายอาจถึงขั้นตับวายได้

กินยาปฏิชีวนะ ไม่ช่วยอะไร

เพราะไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส  จึงไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ เพราะยาปฏิชีวนะมีไว้สำหรับจัดการเจ้าเชื้อแบคทีเรีย ยกเว้นว่าพบเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน จึงค่อยรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง


   โรงพยาบาลสงขลาจัดโครงการตรวจสุขภาพเบื้องต้นและให้บริการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและฉีดวัคซีนป้องกันไว้หวัดใหญ่ 2011 ให้กับข้าราชการและลูกจ้างที่มีความสนใจในสุขภาพ


    โรงพยาบาลสงขลา แจ้งว่า ทางโรงพยาบาลได้จัดโปรแกรม การตรวจสุขภาพเบื้องต้นและให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันไว้หวัดใหญ่ 2011 การตรวจสุขภาพเบื้องต้นและให้บริการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขึ้น เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้ตระหนักในการดูแลใส่ใจในเรื่องของสุขภาพมากยิ่งขึ้น ผู้ที่สนใจสามารถส่งรายชื่อและรายละเอียดให้กับทางโรงพยาบาลสงขลา เพื่อดำเนินการต่อไปหรือสามารถติดต่อสอบถามได้ที่หน่วยงานลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 0-7448-0047 , 08-0712-5120 และหมายเลขโทรสาร 0-7448-0054
-------------------------------------------------

ไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดต่างกันอย่างไร
ไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อ Influenza virus เป็นการติดเชื้อทางเดินระบบหายใจ เช่น จมูก คอ หลอดลม และปอด เชื้ออาจจะลามเข้าปอดทำให้เกิดปอดบวม ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัวปวดกล้ามเนื้อมาก จะพบมากทุกอายุโดยเฉพาะในเด็กจะพบมากเป็นพิเศษ แต่อัตราการเสียชีวิตมักจะพบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต เป็นต้น การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด สามารถลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดโรคแทรกซ้อน ลดการหยุดงานหรือหยุดเรียน
สำหรับไข้หวัดเป็นการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกไหล ไข้ไม่สูงมาก
ในปี คศ.2003 ได้มีการแนะนำเรื่องไข้หวัดใหญ่ดังนี้
  1. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีนคือเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน(เนื่องจากเชื้อนี้มักจะระบาดในต่างประเทศ หากประเทศเราจะฉีดก็น่าจะเป็นช่วงเดียวกัน) โดยเน้นไปที่ประชาชนที่มีอายุ 50 ปี,เด็กอายุ 6-23 เดือน,คนที่อายุ 2-49 ปีที่มีโรคประจำตัวกลุ่มนี้ให้ฉีดในเดือนตุลาคม ส่วนกลุ่มอื่น เช่นเด็ก เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ผู้ดูแลคนป่วย กลุ่มนี้ให้ฉีดเดือนพฤศจิกายน
  2. เด็กที่อายุ 6-23 เดือนควรจะฉีดทุกรายโดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัวร่วมด้วย
  3. ชนิดของวัคซีนที่จะฉีดให้ใช้ชนิดที่มีส่วนผสมของเชื้อ A/Moscow/10/99 (H3N2)-like, A/New Caledonia/20/99 (H1N1)-like, และ B/Hong Kong/330/2001
  4. ให้ลดปริมาณสาร thimerosal ซึ่งเป็นสารปรอท
การติดต่อ
เชื้อนี้ติดต่อได้ง่ายโดยทางเดินหายใจ วิธีการติดต่อได้แก่
  • ติดต่อโดยการไอหรือจาม เชื้อจะเข้าทางเยื่อบุตาและปาก
  • สัมผัสเสมหะของผู้ป่วยทางแก้วน้ำ ผ้า จูบ
  • สัมผัสทางมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
  • อ่านรายละเอียด
อาการของโรค
อาการของไข้หวัดใหญ่จะเหมือนกับไข้หวัด แต่ไข้หวัดใหญ่จะเร็วกว่า ไข้สูงกว่า อาการทำสำคัญได้แก่
  1. ระยะฟักตัวประมาณ1-4 วันเฉลี่ย 2 วัน
  • ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียอย่างเฉียบพลัน
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้
  • ปวดศรีษะอย่างรุนแรง
  • ปวดแขนขา ปวดข้อ ปวดรอบกระบอกตา
  • ไข้สูง 39-40 องศาในเด็ก ผู้ใหญ่ไข้ประมาณ 38 องศา
  • เจ็บคอคอแดง มีน้ำมูกไหล
  • ไอแห้งๆ ตาแดง
  • ในเด็กอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • อาการไข้ คลื่นไส้อาเจียนจะหายใน 2 วัน แต่อาการน้ำมูกไหลคัดจมูกอาจจะอยู่ได้ 1 สัปดาห์
  1. สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงมักจะเกิดในผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว
  • อาจจะพบว่ามีการอักเสบของเยื่อหุ่มหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ
  • อาจจะมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะปวดศรีษะ ซึมลง หมดสติ
  • ระบบหายใจอาจจะมีอาการของโรคปอดบวม จะหอบหายใจเหนื่อยจนถึงหายใจวาย
  • โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่จะหายในไม่กี่วัน แต่ก็มีบางรายซึ่งอาจจะมีอาการปวดข้อและไอได้ถึง 2 สัปดาห์
ระยะติดต่อ
ระยะติดต่อหมายถึงระยะเวลาที่เชื้อสามารถติดต่อไปยังผู้อื่น
  • ระยะเวลาที่ติดต่อคนอื่นคือ 1 วันก่อนเกิดอาการ
  • ห้าวันหลังจากมีอาการ
  • ในเด็กอาจจะแพร่เชื้อ 6 วันก่อนมีอาการ และแพร่เชื้อได้นาน 10 วัน

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปี 2011/2012


         ไข้ หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของ ทั่วโลก สาเหตุของโรคคือเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (influenza virus) ซึ่งแพร่กระจายได้ง่ายโดยการหายใจเอาเชื้อโรคนี้เข้าไป เชื้อไวรัสนี้มีทั้งหมด 3 ชนิด คือ A, B และ C โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดมากที่สุดและรุนแรงที่สุดคือ ชนิด A อาการแสดงที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงและบางรายอาจเสียชีวิตได้ ไวรัสนี้มีการระบาดอยู่เป็นประจำทุกปีทั่วโลก (seasonal flu) โดยช่วงเวลาที่มีการระบาดมากที่สุดคือช่วงฤดูหนาว ในอดีตนั้นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เคยมีการระบาดอย่างรุนแรงและทำให้มีผู้เสีย ชีวิตจำนวนมากหลายครั้ง ครั้งที่ทำให้เกิดความสูญเสียมากที่สุด ได้แก่ Spanish flu ในปี พ.ศ. 2461 ซึ่งมีประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตถึง 40 ล้านรายทั่วโลก ล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2552 ได้มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่อีกครั้งหนึ่งซึ่งแม้จะมีรายงาน จำนวนผู้เสียชีวิตไม่มากแต่ก็มีจำนวนผู้ติดเชื้อกว่า 620,000 ราย (1) และเสียชีวิต 18,000 รายทั่วโลก (2)          ไข้หวัดใหญ่แพร่กระจายทาง อากาศ มักระบาดจากการที่ผู้ป่วยหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายอยู่ในอากาศเข้าไป อาการแสดงของไข้หวัดใหญ่จะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ส่วนมากจะมีอาการแสดงอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้ ได้แก่ มีไข้ หนาวสั่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหัว อ่อนเพลีย ในเด็กส่วนมากจะมีการอาเจียนหรือท้องเสียร่วมด้วย ซึ่งการป้องกันที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนป้องกันโรค วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนเชื้อตาย ประกอบด้วยเชื้อ 3 ชนิด เป็น ชนิด A 2 ชนิดและชนิด B 1 ชนิด เนื่องจากตัวเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีสารพันธุกรรมเป็น RNA สายสั้นๆ จำนวน 8 สาย ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้ง่าย สายพันธุ์ที่ระบาดในแต่ละปีจะแตกต่างกันไป จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันทุกปี โดยในแต่ละปีผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) และสถาบันวิจัยต่างๆ ได้แก่ Center for Disease Control and Prevention (USA) National Institute for Medical Research (London, UK) Victoria Infectious Diseases Reference Laboratory (Melbourne, Australia) National Institute for Infectious Diseases (Tokyo, Japan) และ National Institute for Viral Disease Control and Prevention (Beijing, China) จะทำการศึกษาสายพันธุ์ที่ระบาดและคาดการณ์ถึงสายพันธุ์ที่น่าจะระบาดในปีต่อ ไปแล้วจึงนำสายพันธุ์ดังกล่าวมาทำการผลิตวัคซีนต่อไป โดยในปี พ.ศ. 2554 ทาง WHO ได้คัดเลือกไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่จะนำมาผลิตวัคซีนสำหรับซีกโลกเหนือ ในปี พ.ศ. 2554/2555 ดังนี้
         A/California/7/2009 (H1N1) – like virus
         A/Perth/16/2009 (H3N2) – like virus
         B/Brisbane/60/2008 – like virus

         ซึ่ง ทั้ง 3 สายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดียวกับที่ใช้ผลิตวัคซีนในปี พ.ศ. 2553/2554 และเมื่อ 29 กันยายน 2553 ทางองค์การอนามัยโลกได้ประกาศสายพันธุ์ที่ใช้ผลิตวัคซีนสำหรับซีกโลกใต้ ดังนี้
         A/California/7/2009 (H1N1) – like virus
         A/Perth/16/2009 (H3N2) – like virus*
         B/Brisbane/60/2008 – like virus

         * A/Wisconsin/15/2009 and A/Victoria/210/2009 are A/Perth/16/2009 – like virus
         โดย จะทำการฉีดเพียง 1 ครั้งในผู้ที่อายุมากกว่า 8 ปี ภูมิคุ้มกันจะสร้างภายใน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีน และแนะนำให้ฉีดแก่กลุ่มเสี่ยง เช่น บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วย ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เป็นต้น

บทความโดยดร. กฤษณ์ ถิรพันธุ์เมธี
ภาควิชาจุลชีววิทยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เอกสารอ้างอิง

  1. Pandemic (H1N1) 2009 – update 76. Global Alert and Response (GAR). World Health Organization. 27 November 2009.
  2. Pandemic (H1N1) 2009 – update 100. Disease Outbreak News (WHO). 14 May 2010.


    ==========================================
    ข้หวัดใหญ่ เป็นการติดเชื้อ Influenza virus เป็นการติดเชื้อทางเดินระบบหายใจ เชื้ออาจจะลามเข้าปอดทำให้เกิดปอดบวม ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัวปวดกล้ามเนื้อมาก
    การติดต่อ
    • ติดต่อโดยการไอหรือจาม เชื้อจะเข้าทางเยื่อบุตาและปาก
    • สัมผัสเสมหะของผู้ป่วยทางแก้วน้ำ ผ้า จูบ
    • สัมผัสทางมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
    อาการของโรค
    1. ระยะฟักตัวประมาณ1-4 วันเฉลี่ย 2 วัน
    • ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียอย่างเฉียบพลัน
    • เบื่ออาหาร คลื่นไส้
    • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
    • ปวดแขนขา ปวดข้อ ปวดรอบกระบอกตา
    • ไข้สูง 39-40 องศา
    • เจ็บคอคอแดง มีน้ำมูกไหล
    • ไอแห้งๆ ตาแดง
    • อาการไข้ คลื่นไส้อาเจียนจะหายใน 2 วัน แต่อาการน้ำมูกไหลคัดจมูกอาจจะอยู่ได้ 1 สัปดาห์
    2. สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงมักจะเกิดในผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว
    • อาจจะพบว่ามีการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ
    • อาจจะมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะปวดศีรษะ ซึมลง หมดสติ
    • ระบบหายใจอาจจะมีอาการของโรคปอดบวม จะหอบหายใจเหนื่อยจนถึงหายใจวาย
    • โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่จะหายในไม่กี่วัน แต่ก็มีบางรายซึ่งอาจจะมีอาการปวดข้อและไอได้ถึง 2 สัปดาห์
    การป้องกัน
    • ล้างมือบ่อยๆ
    • อย่าเอามือเข้าปากหรือขยี้ตา
    • อย่าใช้ของส่วนตัว เช่นผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
    • ให้พักที่บ้านเมื่อเวลาป่วย
    • เวลาไอจามใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก
Share this post :

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

ป้ายกำกับ

โครงการ (68) ประชุม (31) ร่วมพิธี (31) ศึกษาดูงาน (31) กีฬา (18) ต้อนรับ (13) ทำเนียบบุคคลากร (13) ดูงาน (12) อวยพรปีใหม่ (11) งานเลี้ยง (10) มอบเกียรติบัตร (10) ตรวจเยี่ยม (9) เข้าเยี่ยมคารวะ (9) ทำเนียบผู้พิพากษา (8) ทำเนียบเจ้าหน้าที่ (7) ประวัติศาล (7) นักศึกษาฝึกงาน (6) ประสานความร่วมมือ (6) รับเสด็จ (6) เอกสารที่ต้องใช้ในการขอประกันตัว (6) จังหวัดเคลื่อนที่ (5) วันสำคัญ (5) MOU (4) กิจกรรม (4) อบรม (4) ตรวจศาล (3) ถวายพวงมาลัย (3) ประชาสัมพันธ์ (3) ประวัติศาล ภาค๙ (3) ฝึกอบรม (3) รายงานตัว (3) ศาลอื่นๆ (3) เยี่ยมแสดงความยินดี (3) โยกย้าย (3) Linkเว็บศาลยุติธรรม (2) งานศพ (2) ทำบุญตักบาตร (2) ทำเนียบข้าราชการตำรวจ (2) บันทึกเทป (2) ฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ (2) รดน้ำดำหัว (2) วันมหิดล (2) สักการะศาลพระภูมิ (2) Action (1) Adventure (1) video conference (1) งานแต่งงาน (1) ตรวจรับพัสดุ (1) ทำเนียบ รปภ. (1) ทำเนียบเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (1) บรรยาย (1) ประกาศ (1) ประชุมทางไกล (1) ประเพณีสงขลา (1) ปลดเผาสำนวน (1) วันรพี (1) วันเกิด (1) วารสาร (1) สรุปข่าวประจำเดือน (1) สัมมนา (1) เศรษฐกิจพอเพียง (1)

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Support : Creating Website By SU| |
Copyright © 2013. ศาลสงขลา - All Rights Reserved
Template Created by SU
Proudly powered by Blogger