ศาลจังหวัดสงขลา จัดประชุมหัวหน้าหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม วันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๖

      เมื่อ วันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๖  เวลา ๑๔.๐๐ น.  นายมหาชัย ศรีทองกลาง  ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสงขลา  ประชุมหัวหน้าหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม โดยมี เรือนจำจังหวัดสงขลา  เรือนจำกลางสงขลา ทัณฑสถานหญิงสงขลา ทัณฑสถานบำบัดพิเศษสงขลา  สำนักงานบังคับคดี และสำนักงานคุมประพฤติ เพื่อหารือแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน  ส่งเสริมกิจกรรมการประสานความร่วมมือหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมได้อย่าง ต่อเนื่อง ../.




กระบวนการยุติธรรม
 กระบวนการยุติธรรม หมายความถึง วิธีการดำเนินการแก่ผู้ที่ประพฤติฝ่าฝืนกฎหมาย โดยอาศัยองค์กร และบุคลากรที่กฎหมายให้อำนาจไว้
  กระบวนการยุติธรรมที่สำคัญ ได้แก่ กระบวนการยุติธรรมทางอาญา กระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง กระบวนการยุติธรรมทางแรงงาน กระบวนการยุติธรรมในศาลเยาวชน และครอบครัวกลาง และกระบวนการยุติธรรมในศาลภาษีอากร
  กระบวนการยุติธรรมทางอาญา เป็นกระบวนการสำหรับดำเนินคดีอาญา กล่าวคือเมื่อมีการกระทำผิดทางอาญาแล้ว การนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ จะต้องกระทำอย่างไร บทบัญญัติที่กำหนดวิธีดำเนินคดีอาญามีอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา
  ส่วนกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งเป็นกระบวนการสำหรับดำเนินคดีแพ่ง เช่น กรณีผิดสัญญา ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแพ่ง การที่จะบังคับให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้ค่าเสียหายจะต้องดำเนินการอย่างไร ซึ่งมีบทบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
  ในบทนี้จะเป็นการศึกษาเฉพาะองค์กรและบุคลากร และการดำเนินการกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และทางแพ่ง แต่เพียงโดยสังเขป ดังนี้

กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
1. องค์กรและบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
  1.1) พนักงานสอบสวนหรือตำรวจ
  พนักงานสอบสวนหรือตำรวจ เป็นองค์กรที่สำคัญที่สุดองค์กรหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพราะเป็นหน่วยงานแรกที่รับผิดชอบต่อกระบวนการยุติธรรมก่อนที่คดีหรือข้อ พิพาทที่เกิดขึ้น จะผ่านไปยังพนักงานอัยการ และเข้าสู่การพิจารณาของศาล
  ตำรวจเป็นผู้จับกุมผู้กระทำความผิด และทำการรวบรวมพยานหลักฐานที่ได้จากการสอบสวนแล้วส่งเรื่องหรือสำนวนสอบสวน ให้พนักงานอัยการ ซึ่งเป็นทนายของ แผ่นดิน ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล เมื่อศาลพิพากษาลงโทษแล้ว เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะควบคุมตัวผู้นั้นไว้ในเรือนจำเพื่ออบรม ดัดนิสัย และฝึกอาชีพต่อไป
  1.2) ทนายความ
  ทนายความเข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม คือ เข้ามาว่าความแก้ต่างให้แก่คู่ความไม่ว่าจะเป็นโจทก์หรือจำเลย ทนายความเป็นผู้ประกอบอาชีพกฎหมายโดยอิสระ ทนายความจะให้คำปรึกษาหรือดำเนินคดีแทน โดยคิดค่าบริการจากลูกความ ทนายความจึงเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในกระบวนการยุติธรรม เพราะเป็นผู้รู้กฎหมาย และทำหน้าที่เป็นตัวแทนของคู่ความในการดำเนินคดีในศาล การกระทำของทนายในศาลมีผลเท่ากับคู่ความทำเอง
  1.3) พนักงานอัยการ
  พนักงานอัยการ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งดำเนินคดีต่อจากพนักงาน สอบสวน เมื่อพนักงานสอบสวนได้สอบสวนคดีเสร็จแล้ว ก็จะส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ เพื่อฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลต่อไป พนักงานอัยการจึงเปรียบเสมือนทนายของ แผ่นดิน มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีในนามของรัฐ
  1.4) ศาลยุติธรรม
  ศาลเป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาชี้ขาดคดีหรหือตัดสินคดี
  ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ศาลแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
  ก. ศาลชั้นต้น คือ ศาลที่จะเริ่มพิจารณาอรรถคดีเป็นเบื้องแรก ศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา สำหรับในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศาลแขวงพระนครเหนือ ศาลแขวงพระนครใต้ ศาลแขวงธนบุรี ศาลจังหวัดมีนบุรี ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง ศาลอาญาธนบุรี และศาลอาญา ส่วนในจังหวัดอื่นได้แก่ ศาลแขวง ศาลจังหวัด และศาลคดีเด็กและเยาวชน
  ข. ศาลอุทธรณ์ คือ ศาลซึ่งวินิจฉัยข้อผิดพลาด หรือข้อขาดตกบกพร่องของศาลชั้นต้น เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในกระบวนวิธีพิจารณาอรรถคดี ศาลอุทธรณ์นั้นเดิมมีอยู่ศาลเดียว ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร แต่ปัจจุบันได้ขยายออกไปอีก 9 ศาล คือ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 – 9

  ค. ศาลฎีกา เป็นศาลสูงสุดของศาลในระบบศาลยุติธรรม มีศาลเดียว ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยความบกพร่อง หรือข้อผิดพลาดในการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์อีกขั้นหนึ่ง

 1.5) กรมราชทัณฑ์
  เจ้าหน้าที่ฝ่ายราชทัณฑ์ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเกือบ ทุกขั้นตอน โดยทำหน้าที่ควบคุมผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ในระหว่างการดำเนินคดีอาญาไม่ว่าจะ เป็นชั้นก่อนศาลพิจารณา ระหว่างการพิจารณา ตลอดจนภายหลังการพิจารณาพิพากษา ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา เจ้าหน้าที่ฝ่ายราชทัณฑ์มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาล เช่น ควบคุมตัว ปล่อยตัว หรือแม้แต่คำพิพากษาประหารชีวิต ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชทัณฑ์ ที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล เป็นต้น
  อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชทัณฑ์ยังมีความรับผิดชอบสำคัญอื่นอีก คือ การฝึกอบรม และแก้ไขฟื้นฟูผู้ถูกคุมขังให้กลับตนเป็นคนดี ด้วยการให้การอบรมทั้งในด้านศีลธรรม และอาชีพ เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมภายนอกได้ภายหลังได้รับการ ปล่อยตัวไป
2. การดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา มีหลักการดังนี้
  2.1) บุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้กระทำความผิด ผู้เสียหาย ตำรวจ อัยการ ศาล และพนักงานราชทัณฑ์
  2.2) เมื่อมีความผิดอาญาเกิดขึ้น ก็จะต้องมีการสืบสวน และสอบสวนเกี่ยวกับความผิดโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อน จากนั้นพนักงานอัยการจึงจะฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือในบางกรณีผู้เสียหายจะฟ้องต่อศาลโดยตรงก็ได้
  2.3) ในคดีอาญานั้น การพิจารณาสืบพยานของศาลจะต้องกระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าสาธารณชน และต่อหน้าจำเลย
  2.4) คดีอาญาเมื่อมีคำพิพากษาแล้ว จะต้องบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาโดยไม่ชักช้า

3. สาระสำคัญของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยวิธีปฏิบัติของเจ้าพนักงานของรัฐเพื่อเอาตัวผู้กระทำผิดตาม กฎหมายอาญามา ลงโทษ กฎหมายนี้ ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
Share this post :

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

ป้ายกำกับ

โครงการ (68) ประชุม (31) ร่วมพิธี (31) ศึกษาดูงาน (31) กีฬา (18) ต้อนรับ (13) ทำเนียบบุคคลากร (13) ดูงาน (12) อวยพรปีใหม่ (11) งานเลี้ยง (10) มอบเกียรติบัตร (10) ตรวจเยี่ยม (9) เข้าเยี่ยมคารวะ (9) ทำเนียบผู้พิพากษา (8) ทำเนียบเจ้าหน้าที่ (7) ประวัติศาล (7) นักศึกษาฝึกงาน (6) ประสานความร่วมมือ (6) รับเสด็จ (6) เอกสารที่ต้องใช้ในการขอประกันตัว (6) จังหวัดเคลื่อนที่ (5) วันสำคัญ (5) MOU (4) กิจกรรม (4) อบรม (4) ตรวจศาล (3) ถวายพวงมาลัย (3) ประชาสัมพันธ์ (3) ประวัติศาล ภาค๙ (3) ฝึกอบรม (3) รายงานตัว (3) ศาลอื่นๆ (3) เยี่ยมแสดงความยินดี (3) โยกย้าย (3) Linkเว็บศาลยุติธรรม (2) งานศพ (2) ทำบุญตักบาตร (2) ทำเนียบข้าราชการตำรวจ (2) บันทึกเทป (2) ฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ (2) รดน้ำดำหัว (2) วันมหิดล (2) สักการะศาลพระภูมิ (2) Action (1) Adventure (1) video conference (1) งานแต่งงาน (1) ตรวจรับพัสดุ (1) ทำเนียบ รปภ. (1) ทำเนียบเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (1) บรรยาย (1) ประกาศ (1) ประชุมทางไกล (1) ประเพณีสงขลา (1) ปลดเผาสำนวน (1) วันรพี (1) วันเกิด (1) วารสาร (1) สรุปข่าวประจำเดือน (1) สัมมนา (1) เศรษฐกิจพอเพียง (1)

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Support : Creating Website By SU| |
Copyright © 2013. ศาลสงขลา - All Rights Reserved
Template Created by SU
Proudly powered by Blogger