สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า



สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระนามเดิม "พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา" ทรงเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2405 เป็นพระเจ้าลูกเธอชั้นเล็ก ลำดับที่ 60 ในจำนวนทั้งหมด 82 พระองค์ โดยรับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว

พระองค์ทรงเป็นพระชนนีของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราส สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรกของไทย พระมาตุจฉาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปก เกล้าเจ้าอยู่หัว และพระอัยยิกาในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ

นอกจากนี้ พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งองค์สภานายิกา สภากาชาดไทย พระองค์ที่ 2 และทรงสร้างสถานพยาบาลขึ้น ปัจจุบัน คือ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสภากาชาดไทย

พระประวัติ

สมเด็จ พระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 60 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นลำดับที่ 4 ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเปี่ยม ทรงพระราชสมภพในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันพุธ เดือน 10 แรม 2 ค่ำ ปีจอ จัตวาศก จ.ศ. 1224 ซึ่งตรงกับวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2405 โดยได้รับพระราชทานพระนามจากสมเด็จพระราชบิดาว่า "'''พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา'''" รวมทั้ง ได้รับพระราชทานพรเป็นภาษามคธ ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงพระนิพนธ์แปลเป็นภาษาไทยไว้ว่า

"''เราได้ตั้งนามของบุตรีใน ราชสกุลนี้ว่า "สว่างวัฒนา" ดังนี้ ขอบุตรีนั้นจงเป็นผู้มีสุข เลี้ยงง่าย ไม่มีโรค ไม่มีอุปัทวันตราย มั่งคั่งสมบูรณ์ มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก ดำรงอิศริยยศตั้งอยู่ในพระบรมราชวงศ์ที่ประเสริฐสูงสุดของพระบิดายั่งยืนกาล นานเทอญ''"

พระองค์ทรงมีพระเชษฐาและพระขนิษฐาร่วมพระมารดาทั้งสิ้น 6 พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์

พระองค์เจ้าหญิง สว่างวัฒนาทรงได้รับการศึกษาตามแบบกุลสตรีในวังหลวง ทรงได้เล่าเรียนภาษาอังกฤษถึงขั้นอ่านออกและฟังเข้าพระทัย ทรงมีพระพี่นางพระน้องนางที่สนิทสนมเป็นเพื่อนสนิทกลุ่มเดียวกัน คือ พระองค์เจ้าแขไขดวง พระองค์เจ้านภาพรประภา พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ และ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี

เมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 6 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานารถ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นเป็นรัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระฐานันดรศักดิ์ของพระองค์เจ้าสว่างวัฒนา จึงเปลี่ยนเป็น '''พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา'''

พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา เมื่อทรงเจริญพระชันษาขึ้น พระองค์ก็มีพระสิริโฉมงดงาม จนมีคำกล่าวว่า "หน้าตาคมสันองค์สว่าง พูดจากระจัดกระจ่างองค์สุนันทา" พระองค์ทรงเข้ารับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในรัชกาลที่ 5 ขณะที่ทรงมีพระชนม์ 16 พรรษา ดำรงพระอิสริยยศเป็น '''พระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระราชเทวี''' โดยมีพระองค์เจ้าหญิงที่รับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในช่วงเวลาที่ใกล้เคียง กับพระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี และพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี

พระภรรยาเจ้าทั้ง 4 พระองค์มีพระเกียรติยศเสมอกันทุกพระองค์ พระเกียรติยศที่จะเพิ่มพูนนั้นขึ้นอยู่กับการมีสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเป็น สำคัญ จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2423 เกิดเหตุการณ์สิ้นพระชนม์ของพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ระหว่างการเสด็จ แปรพระราชฐานไปพระราชวังบางปะอิน จึงทำให้เกิดปัญหาในการจะออกพระนามในประกาศทางราชการ ซึ่งนำมาสู่การจัดระเบียบภายในพระราชสำนักว่าด้วยตำแหน่งพระภรรยาเจ้าให้ เป็นที่เรียบร้อย โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เป็น "สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระราชเทวี" ซึ่งถือเป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรก และ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา ขึ้นเป็น '''สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระราชเทวี''' โดยในวันงานพระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ ก็ได้มีประกาศฐานะพระอัครมเหสีให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้นโดยเพิ่มคำว่า “บรม” อีกหนึ่งคำ ดังนั้น พระองค์จึงได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น '''สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี''' ซึ่งเป็นตำแหน่งพระอัครมเหสี เนื่องจากพระองค์เป็นพระชนนีสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระราชกุมารพระองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ 5

หลังจากพระองค์ทรงดำรงตำแหน่ง พระอัครมเหสีแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้สร้างพระตำหนัก ขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นใน พระบรมมหาราชวัง เพื่อให้เป็นที่ประทับของพระองค์ โดยเมื่อขึ้นพระตำหนักใหม่แล้ว ชาววังก็ออกพระนามลำลองว่า '''สมเด็จพระตำหนัก''' ตั้งแต่นั้นมา

ภายหลังการสวรรคตของสมเด็จพระ บรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร และทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ พระราชโอรสในสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารพระองค์ต่อไปนั้น ทำให้พระอิสริยยศของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ฯ เทียบเท่าพระองค์ และในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือน ยุโรปอย่างเป็นทางการนั้น ได้สถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ฯ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พร้อมทั้งเฉลิมพระนามาภิไธยขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ. 2439 ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของพระภรรยาเจ้า จึงทำให้ฐานะของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาฯ ลดลงมาเป็นอันดับสองของพระราชวงศ์ฝ่ายใน

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น '''สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี''' โดยข้าราชสำนักในสมัยนั้นออกพระนามว่า '''สมเด็จพระมาตุจฉา''' พระองค์ทรงเป็นพระธุระให้พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 ตั้งแต่ทรงพระครรภ์จนถึงมีประสูติกาลสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในรัชกาลที่ 6 ซึ่งมีพระประสูติกาลก่อนสมเด็จพระราชบิดาเสด็จสวรรคตเพียงวันเดียว โดยก่อนที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวใกล้เสด็จสวรรคตนั้น ได้มีพระราชดำรัสทรงฝากพระราชธิดาไว้กับพระองค์ด้วย

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธยเป็น "สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า"



เมื่อ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระราชนัดดา เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ ทรงเฉลิมพระนามสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี ขึ้นเป็น '''สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า''' พระองค์ดำรงพระอิสริยยศนี้ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ เมื่อรัชกาลที่ 8 เสด็จฯ สวรรคตในปี พ.ศ. 2489 ไม่มีผู้ใดกล้ากราบบังคมทูลสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าให้ทรงทราบ ดังนั้น พระองค์จึงทรงรำลึกว่า "มีหลานชาย 2 คน" เสมอ

ในรัชสมัยพระบาทสม เด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงเป็นประธานในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ พระตำหนักใหญ่ วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 เมื่อพระองค์ทรงเจิมสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถแล้ว มีรับสั่งว่า "หันออกไปยิ้มกับผู้คนที่เข้ามาซิ เขาอุตส่าห์มากันเต็ม ๆ ออกไปให้เขาเห็นหน่อย" ซึ่งสร้างความประหลาดใจแก้ผู้เข้าเฝ้า ณ ที่นั้นเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากพระองค์ทรงเลือนความจำด้วยพระชราภาพ และมักจะไม่ทรงพระดำรัสแล้ว

พระราชโอรสธิดา

สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 8 พระองค์ ได้แก่
1 . สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์
3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา
4. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
5. สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
6. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลวัฒนวดี
7. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
8. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาได้ 4 วัน

นอก จากนี้ พระองค์ยังทรงรับอภิบาลพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่กำพร้าพระมารดาอีก 4 พระองค์ นั่นคือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงษ์สนิท พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไล และพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร

ถึงแม้สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าจะมีความ เพรียบพร้อมไปในทุก ๆ ด้าน และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระราชโอรสองค์แรกจะได้รับพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกก็ตาม แต่พระองค์ก็ทรงได้รับความทุกข์จากการที่พระราชโอรสและพระราชธิดาสิ้นพระ ชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ โดยในปี พ.ศ. 2422 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์ พระราชโอรสลำดับที่ 2 ทรงสิ้นพระชนม์ลง ขณะที่มีพระชันษาเพียง 21 วันเท่านั้น และในปี พ.ศ. 2424 ก็ทรงสูญเสียสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา พระราชธิดาพระองค์ของพระองค์ไป เมื่อมีพระชันษาเพียง 4 ขวบเท่านั้น

ต่อ มา ในปี พ.ศ. 2436 พระราชธิดาองค์เล็กของพระองค์ และเป็นพระราชธิดาพระองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งยังไม่ได้รับการพระราชทานพระนาม ก็สิ้นพระชนม์ลงขณะที่มีพระชันษาเพียง 3 วันเท่านั้น หลังจากนั้นเพียง 1 ปี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารก็เสด็จสวรรคตอย่างกระทันหันด้วยพระโรคไข้รากสาดน้อย จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้พระองค์ทรงพระกันแสงอย่างรุนแรง ไม่เสวยพระกระยาหาร ทำให้พระสุขภาพทรุดโทรมลง และทรงพระประชวรลงในที่สุด

พระองค์ ได้เสด็จประพาสหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อพักฟื้น จนพระสุขภาพดีขึ้น แต่เมื่อ พ.ศ. 2441 พระองค์ก็ทรงได้รับความทุกข์จนล้มป่วยลงอีกครั้ง โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลวัฒนวดี พระราชธิดาในพระองค์สิ้นพระชนม์ลง เมื่อมีพระชันษาเพียง 10 ปีเท่านั้น คณะแพทย์กราบบังคมทูลให้เสด็จฯ ไปประทับที่เมืองชายทะเลเพื่อรักษาพระองค์ แต่ยังมิได้เสด็จไป สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ ก็สิ้นพระชนม์ลงด้วยพระโรคไข้รากสาดน้อย เมื่อพระชันษา 18 ปี ซึ่งการสูญเสียพระราชโอรสและพระราชธิดาอย่างต่อเนื่องทำให้พระองค์ทรงพระ ประชวรถึงกับทรงพระราชดำเนินไม่ได้ และทรงเศร้าโศกสุดหักห้ามพระราชหฤทัยจนไม่เสด็จฯ ไปพระราชทานเพลิงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลวัฒนวดี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องกัน


ส่วน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกนั้น ก็สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2472 และพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงษ์สนิทที่มีความใกล้ชิดกับพระองค์มากที่สุด ซึ่งพระองค์ทรงหวังว่าจะฝากผีฝากไข้ไว้ด้วยนั้น ก็กลับสิ้นพระชนม์ลง 13 มิถุนายน พ.ศ. 2477

ในปี พ.ศ. 2481 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาถนเรนทร ถูกจับกุมตัวด้วยเหตุผลทางการเมือง เมื่อพระองค์ทรงทราบข่าวก็ตกพระทัยและทรงต่อรองกับรัฐบาล โดยรับประกันด้วยพระราชทรัพย์ทั้งหมดที่พระองค์มีเพื่อแลกกับการปล่อยตัวกรม พระยาชัยนาถนเรนทร แต่ไม่สำเร็จ พระองค์ถึงกับรับสั่งว่า " ''ลูกตายไม่น้อยใจช้ำใจเลย เพราะมีเรื่องหักห้ามได้ว่าเป็นธรรมดาของโลก ครั้งนี้ทุกข์สุดที่จะทุกข์แล้ว''" โดยกรมพระยาชัยนาถนเรนทรถูกถอดฐานันดรศักดิ์เป็น "นักโทษชายรังสิต" และถูกนำตัวเขาไปยังคุกบางขวาง ในระหว่างนั้น สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธรสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2491 หลังจากนั้น นักโทษชายรังสิตก็ได้รับการปล่อยตัวและได้คืนสู่พระฐานันดรศักดิ์เดิม กรมพระยาชัยนาถนเรนทร สิ้นพระชนม์ลงเมื่อ พ.ศ. 2494

มีเพียงพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบา พระราชธิดาบุญธรรมพระองค์เดียวเท่านั้นที่มีพระชนม์ชีพอยู่จนได้จัดพระบรมศพ

พระราชกรณียกิจ

หลัง จากงานพระราชพิธีโสกันต์ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าอยู่หัวเรื่อยมา เนื่องจากทรงสามารดจดจำพระราชกระแสได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ พระองค์ยังเป็นผู้รอบรู้การงานในพระราชสำนัก และขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ อีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2436 สภาอุณาโลมแดงได้เริ่มจัดตั้งขึ้น พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งสภาชนนี ในปี พ.ศ. 2463 พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกาพระองค์ที่ 2 หลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ สภานายิกาพระองค์แรก เป็นเวลานานถึง 35 ปี โดยพระองค์ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชทรัพย์จำนวนมากเพื่อบำรุงสภากาชาดไทย และตั้งกองทุนต่าง ๆ ในการส่งนักเรียนไปเรียนต่างประเทศ เพื่อให้มีผู้เชี่ยวชาญมาปฏิบัติหน้าที่อย่างเพียงพอ

ด้านการแพทย์ และการสาธารณสุขนั้น พระองค์ทรงสนับสนุนโรงศิริราชพยาบาล ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เรื่อยมาตราบจนพระองค์เสด็จสวรรคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากเหตุการณ์การสิ้นพระชนม์ของพระราชโอรสธิดาไปถึงจำนวน 6 พระองค์ ส่งผลให้พระองค์ทรงพระประชวรและเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับรักษาพระองค์ที่พระตำหนักศรีราชา ซึ่งพระองค์ทรงให้จัดสร้างสถานพยาบาลขึ้น โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า “โรงพยาบาลสมเด็จ” ปัจจุบัน คือ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา และพระองค์ยังทรงริเริ่มหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ เพื่อให้การรักษาแก่ประชาชนที่อยู่ห่างไกลอีกด้วย นอกจากนี้ ยังทรงพระราชทานทุนส่งแพทย์พยาบาลไปศึกษาต่อต่างประเทศเพื่อพัฒนาวงการแพทย์ ไทยอย่างต่อเนื่อง

ทางด้านการศึกษาพระองค์ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ เพื่อบำรุงโรงเรียนต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค อาทิเช่น โรงเรียนราชินี โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนเจ้าฟ้าสร้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

สวรรคต


เมื่อ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมายังวังสระปทุม เมื่อเวลาประมาณ 2 ยาม เนื่องจากคณะแพทย์ที่รักษาสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ากราบบังคมทูลว่าพระ อาการหนักสุดที่จะเยียวยาแล้ว คงจะเสด็จสวรรคตในไม่ช้า ภายในห้องพระบรรทมของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยืนอยู่ปลายพระบาท พร้อมด้วยคณะแพทย์และพยาบาลที่เฝ้าพระอาการ ส่วนหน้าห้องพระบรรทมนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถประทับอยู่ นอกจากนั้น ก็มีพระองค์เจ้าวาปีฯ หม่อมเจ้าหลานๆ และข้าหลวงหมอบเฝ้าเต็มไปหมด เนื่องจากเป็นที่ทราบกันแล้วว่าพระอาการจะไม่รอดตั้งแต่ 5 ทุ่ม จึงมาคอยส่งเสด็จกันพร้อมหน้าในวาระสุดท้าย หลังจากตีสองชาววังที่เฝ้าอยู่ในที่นั้นทั้งปวงต่างก็ได้ยินเสียงสวดมนต์ เบาๆ ติดต่อกันโดยหาตัวผู้สวดไม่ได้ พอผ่านไปได้ 16 นาที สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าก็เสด็จสู่สวรรค์อย่างสงบ เมื่อเวลา 2.16 น. โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหมอบกราบถวายบังคมอยู่ปลายพระบาทนั่นเอง รวมพระชนมายุได้ 93 พรรษา 3 เดือน 7 วัน

หลังจากสมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้าเสด็จสวรรคต ได้อัญเชิญพระบรมศพมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง จนถึงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมศพลงจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปประดิษฐานเหนือพระยานมาศสามคาน แล้วอัญเชิญพระบรมศพออกจากพระบรมมหาราชวัง ไปยังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดผ้าไตรที่พระโกศพระบรมศพ หลังจากนั้น พระบรมศพเคลื่อนขบวนไปยังพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง และถวายพระเพลิงพระบรมศพ และในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่เสด็จพระราชดำเนินทรงเก็บพระบรมอัฐิ และเชิญพระบรมอัฐิเข้าสู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ภายในพระบรมมหาราชวังเพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมอัฐิ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ไว้ภายใต้ฐานชุกชีพระสัมพุทธวัฒโนภาส วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พระองค์ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้
1. เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในรุ่นแรกที่ได้รับพระราชทาน ม.จ.ก. จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงดำรงตำแหน่งมหาสวามินีแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ พระองค์ทรงได้รับพระราชทานเมื่อปี พ.ศ. 2425 พร้อมกับพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในพระองค์อื่น ๆ ดังนี้
- สมเด็จพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าละม่อม กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร)
- พระนางเธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี (สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี)
- พระนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน
- พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสงี่ยม
- พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดา)
- พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์)
- พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี)

2. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ทรง ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 พระองค์ทรงได้รับพระราชทานพร้อมกับพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในพระองค์อื่น ๆ ดังนี้
- พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง)
- พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี (สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี)

3. เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ฝ่ายใน) ทรงได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436

4. เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ ทรงได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2465

5. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ ทรงได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2462

อนุสรณ์สถาน
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
โรง พยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เดิมชื่อว่า โรงพยาบาลสมเด็จ เป็นโรงพยาบาลที่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงจัดสร้างขึ้น ในปี พ.ศ. 2445 ทางโรงพยาบาลได้จัดสร้างพระราชานุสาวรีย์ของพระองค์ขึ้นภายในโรงพยาบาล นอกจากนี้ อาคารต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลนั้นยังได้รับพระราชทานนามตามพระนามของพระองค์ ได้แก่ ตึกพระพันวัสสา ตึกสว่างวัฒนา ตึกศรีสวรินทิรา ตึกบรมราชเทวี ตึกอัยยิกาเจ้า และตึกศรีสมเด็จ นอกจากนี้ ภายในโรงพยาบาลยังได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีฯ ณ ตึกพระพันวัสสา เพื่อจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชประวัติ และเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับพระองค์

พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ณ โรงเรียนวัฒโนทัย
เมื่อ พ.ศ. 2471 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพในขณะนั้น ได้ขอพระราชทานนามโรงเรียนจากพระองค์ ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า "โรงเรียนวัฒโนทัย" (โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ในปัจจุบัน) ตามพระนามเดิม คือ "สว่างวัฒนา" พระองค์เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ในพิธีเปิดป้ายโรงเรียนเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2471 ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพจึงได้ก่อสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสวรินทิ ราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า รวมทั้ง สร้างอาคารศรีสวรินทิรา ขึ้นภายในโรงเรียน โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์และอาคารศรีสวรินทิราในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2528

อ้างอิง
1. สมภพ จันทรประภา, สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ, โรงพิมพ์อักษรสมัย, 2514
2. มูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้้า, ศรีสวรินทิรานุสรณีย์, 2549, ISBN 974-94727-9-9
3. พระราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยิการเจ้า ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๙, เล่ม ๗๓, หน้า ๑๒๔๒, ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๙
4. รูปภาพ จาก คุณเจ้าคุณวิสุทธิฯ
Share this post :

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

ป้ายกำกับ

โครงการ (68) ประชุม (31) ร่วมพิธี (31) ศึกษาดูงาน (31) กีฬา (18) ต้อนรับ (13) ทำเนียบบุคคลากร (13) ดูงาน (12) อวยพรปีใหม่ (11) งานเลี้ยง (10) มอบเกียรติบัตร (10) ตรวจเยี่ยม (9) เข้าเยี่ยมคารวะ (9) ทำเนียบผู้พิพากษา (8) ทำเนียบเจ้าหน้าที่ (7) ประวัติศาล (7) นักศึกษาฝึกงาน (6) ประสานความร่วมมือ (6) รับเสด็จ (6) เอกสารที่ต้องใช้ในการขอประกันตัว (6) จังหวัดเคลื่อนที่ (5) วันสำคัญ (5) MOU (4) กิจกรรม (4) อบรม (4) ตรวจศาล (3) ถวายพวงมาลัย (3) ประชาสัมพันธ์ (3) ประวัติศาล ภาค๙ (3) ฝึกอบรม (3) รายงานตัว (3) ศาลอื่นๆ (3) เยี่ยมแสดงความยินดี (3) โยกย้าย (3) Linkเว็บศาลยุติธรรม (2) งานศพ (2) ทำบุญตักบาตร (2) ทำเนียบข้าราชการตำรวจ (2) บันทึกเทป (2) ฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ (2) รดน้ำดำหัว (2) วันมหิดล (2) สักการะศาลพระภูมิ (2) Action (1) Adventure (1) video conference (1) งานแต่งงาน (1) ตรวจรับพัสดุ (1) ทำเนียบ รปภ. (1) ทำเนียบเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (1) บรรยาย (1) ประกาศ (1) ประชุมทางไกล (1) ประเพณีสงขลา (1) ปลดเผาสำนวน (1) วันรพี (1) วันเกิด (1) วารสาร (1) สรุปข่าวประจำเดือน (1) สัมมนา (1) เศรษฐกิจพอเพียง (1)

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Support : Creating Website By SU| |
Copyright © 2013. ศาลสงขลา - All Rights Reserved
Template Created by SU
Proudly powered by Blogger