ผลการประกวดเรือพระ ลากพระสงขลา ประจำปี ๒๕๕๖

    เทศบาลนครสงขลา ร่วมกับจังหวัดสงขลา องค์การบริหารจังหวัดสงขลา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานหาดใหญ่ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน กำหนดจัดงานประเพณีลากพระและตักบาตรเทโว ประจำปี 2556 ระหว่างวันที่ 17-23 ตุลาคม 2556 โดยในวันที่ 20 ตุลาคม..เชิญชมขบวนเรือพระจากวัดต่างๆ มากมาย...ผลการประกวดเรือพระ..ด้านล่างสุดครับ











ประเพณีลากพระถือเป็นประเพณีที่ สืบทอดเจตนาความเชื่อในทางพระพุทธศาสนา โดยผู้คนชาวใต้ในอดีตได้นำเอาพุทธประวัติตอนเทโวโรหนปริวัตต์ มาเป็นบริบททางความเชื่อ เพื่อก่อให้เกิดกิจกรรมทางศาสนา ประเพณีลากพระจึงได้เกิดขึ้นในสังคมพุทธเกษตรดั้งเดิมในภาคใต้ ทั้งนี้ช่วงเวลาของการประกอบประเพณีดังกล่าวสอดคล้องกับสภาพของสังคมเกษตรกรรม อันเป็นช่วงเวลาที่ชาวนาอยู่กับผืนนาไถหว่านปักดำ แล้วเสร็จพอดี และเป็นระยะเวลาที่สอดคล้องกับฤดูออกพรรษา ในทางพระพุทธศาสนาที่มีเรื่องราว ตามที่ชาวบ้านศรัทธาในพุทธประวัติตอนเทโวโรหนะ ซึ่งมีความว่า
พระพุทธองค์ได้เสด็จไปจำพรรษาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อตรัสเทศนาพระสัตตปกรณาภิธรรมปิฎก ภายในไตรมาส เพื่อกระทำปัจจุปการสนองพระคุณพระพุทธมารดา ครั้งถึงเดือน 11 ตรงกับแรม 1 ค่ำ พระพุทธองค์จึงได้เสด็จลงสู่มนุษย์โลก โดยท้าวโกสีย์ได้นฤมิตบันไดทิพย์ทั้ง 3 ลงมาจากเทวโลก คือบันไดทอง อยู่ ณ เบื้องขวา บันไดเงินอยู่ ณ เบื้องซ้าย บันไดแก้ว ประดิษฐานอยู่ท่ามกลาง อันบันใดทองข้างขวานั้นเป็นที่ลงแห่งหมู่พรหมทั้งหลาย บันไดเงินข้างซ้ายนั้นเป็นที่ลงแห่งหมู่เทพยดาทั้งหลาย บันไดแก้วในทามกลางนั้นเป็นทางเสด็จสมเด็จพระสัพพัญญู



ชาวบ้านจึงได้หยิบยกเอาความพุทธประวัติดังกล่าวมาเป็นสาระในการประกอบกิจกรรมทางศาสนา โดยถือเอาว่าเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พุทธศาสนิกชนจะต้องไปเฝ้ารับ เสด็จแห่งหนต้องรับกิจกรรมการลากพระจึงได้จำลองเอาพระราชรถมารับเสด็จและอัญเชิญพระพุทธองค์ประทับในบุษบก แล้วพุทธศาสนิกชนได้เฝ้าแหนรับเสด็จด้วยการลากพระราชรถนั้น (หรือบางแห่งสถานที่เหมาะกับการลากพระทางน้ำ หรือบางแห่งเหมาะลากไปทางบก ก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของชุมชนนั้นๆว่าเหมาะกับการลากพระประเภทใด)ส่วนพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาประดิษฐานในบุษบกนั้นจะต้องเป็นพระพุทธรูปปางเสด็จจากดาวดึงส์ หรือปางเปิดโลก เพื่อให้ต้องตามความในพระพุทธประวัติ
และร่วมกันลากพระราชรถออกจากวัด ออกไปตามถนนหนทางในหมู่บ้าน และจะไปรวม
ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งที่เป็นจุดรวมกันระหว่างหมู่บ้าน การชักลากจะใช้เชือกป่านมนิลาขนาดใหญ่ หรือหวายเส้นใหญ่ผูกกับพระราชรถ ทั้งสองด้านปล่อยปลายเชือกอีกด้านหนึ่งไว้สำหรับจับเพื่อชักลากยาวประมาณ 10 - 20 เมตร โดยให้โพนเป็นเครื่องตีให้สัญญาณ
Share this post :

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

ป้ายกำกับ

โครงการ (68) ประชุม (31) ร่วมพิธี (31) ศึกษาดูงาน (31) กีฬา (18) ต้อนรับ (13) ทำเนียบบุคคลากร (13) ดูงาน (12) อวยพรปีใหม่ (11) งานเลี้ยง (10) มอบเกียรติบัตร (10) ตรวจเยี่ยม (9) เข้าเยี่ยมคารวะ (9) ทำเนียบผู้พิพากษา (8) ทำเนียบเจ้าหน้าที่ (7) ประวัติศาล (7) นักศึกษาฝึกงาน (6) ประสานความร่วมมือ (6) รับเสด็จ (6) เอกสารที่ต้องใช้ในการขอประกันตัว (6) จังหวัดเคลื่อนที่ (5) วันสำคัญ (5) MOU (4) กิจกรรม (4) อบรม (4) ตรวจศาล (3) ถวายพวงมาลัย (3) ประชาสัมพันธ์ (3) ประวัติศาล ภาค๙ (3) ฝึกอบรม (3) รายงานตัว (3) ศาลอื่นๆ (3) เยี่ยมแสดงความยินดี (3) โยกย้าย (3) Linkเว็บศาลยุติธรรม (2) งานศพ (2) ทำบุญตักบาตร (2) ทำเนียบข้าราชการตำรวจ (2) บันทึกเทป (2) ฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ (2) รดน้ำดำหัว (2) วันมหิดล (2) สักการะศาลพระภูมิ (2) Action (1) Adventure (1) video conference (1) งานแต่งงาน (1) ตรวจรับพัสดุ (1) ทำเนียบ รปภ. (1) ทำเนียบเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (1) บรรยาย (1) ประกาศ (1) ประชุมทางไกล (1) ประเพณีสงขลา (1) ปลดเผาสำนวน (1) วันรพี (1) วันเกิด (1) วารสาร (1) สรุปข่าวประจำเดือน (1) สัมมนา (1) เศรษฐกิจพอเพียง (1)

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Support : Creating Website By SU| |
Copyright © 2013. ศาลสงขลา - All Rights Reserved
Template Created by SU
Proudly powered by Blogger