3 ศาลสามัคคี แรลลี่ไกล่เกลี่ย จาก ศาลจังหวัดสงขลา สู่วัดพะโคะ วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๖

  เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๖ นายมหาชัย  ศรีทองกลาง  ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสงขลา คณะผู้พิพากษาศาลจังหวัดสงขลา นายปรารภ  เทพรักษ์   ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดสงขลา  เจ้าหน้าที่ศาลจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยผู้ประนอมศาลจังหวัดสงขลา เข้าร่วมกิจกรรม  
3 ศาลสามัคคี แรลลี่ไกล่เกลี่ย ซึ่งได้ร่วมกันจัดขึ้น กับ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลา นำโดยนายดุสิต  ผดุงศักดิ์  ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลา ศาลแขวงสงขลา นำโดยนายธีระพงศ์  พงศ์สุภากุล  ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงสงขลา  เพื่อประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ลด ละ อภัย เมตตา อย่าถือสา ไม่เสียเงิน ไม่เสียเวลา หันหน้าพูดจากัน ในการนี้มี นายมหาชัย  ศรีทองกลาง  ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสงขลา กล่าวรายงาน โดยมี นายสมบูรณ์ วัฒนพรมงคล อธิบดีผู้พิพากษาภาค ๙     เป็นประธาน กล่าวเปิดเปิดโครงการ

      เพื่อ ความเข้าใจ เข้าถึงชาวบ้าน เรื่องการไกล่เกลี่ย อาจารย์ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ม.ทักษิณ ครูมโนราห์ที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ จะใช้การร้องและรำมโนราห์ ซึ่งเป็นศาสตร์และศิลป์แผ่นดินใต้ ถ่ายทอดอัฒลักษณ์ ถ่ายทอดในช่วงก่อนออกเดินทาง จึงเชิญร่วมกิจกรรมทำบุญ ร่วมมือร่วมใจร่วมพลังรณรงค์ในครั้งนี้ร่วมกันครับ
ไม่มีใครแพ้ใครชนะ
     ขัอพิพาทบาดหมางกันความจริงแล้วเป็นเรื่องราวปกติที่เกิดขึ้นได้ทุกสังคม เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเห็นว่าการกระทำของอีกฝ่ายไม่เป็นไปตามหลักตามเกณฑ์ตาม กฎหมาย เกิดความคับแค้นใจ ไม่มีทางที่จะจัดการความขัดแย้งโดยวิธีการอื่น ท้ายสุดก็สุดที่ศาล มีคดี=มีความคิดจัดแย้ง..นานๆ มันเป็นความทุกข์ ประชาชนคนมีคดีส่วนใหญ่จะทุกข์ใจ กังวล อยากให้คดีจบไปโดยเร็ว โบราณถึงขนาดพูดประชดประชันว่ากินขี้หมาดีกว่าเป็นความ แม้ปัจจุบันจะบริหารจัดการด้านคดีที่สู่ศาลแล้วเสร็จไปโดยเร็ว แต่หลักการก็อยู่บนพื้นฐานของกฎหมายและความเป็นธรรม วิธีการหลักลักษณะนี้ประชาชนคนมีคดีย่อมมีแพ้ชนะ แม้ว่าจะจบคดีแต่ความบาดหมางกินใจบางครั้งไม่จบ ทางที่จะทำให้ชนะกันทุกฝ่ายคือการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เป็นวิธีการยุติของพิพาททางเลือก ยุติธรรมยุติคดีโดยความสมัครใจองทั้งสองฝ่ายเอง ผู้ประนอมเป็นเพียงคนกลาง วิธีนี้สะดวก รวดเร็ว ประหยัด ไม่มีค่าใช้จ่าย พึงพอใจทุกฝ่าย และรักษาสัมพันธภาพอันดีกันไว้

    ศาลา ตัดสินความสมัยอยุธยา ที่มาที่ไป สำคัญอย่างไร กรมศิลปากรถึงได้ขึ้นทะเบียน เหตุที่ที่แห่งนี้เป็นศูนย์กลางการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งชาวบ้าน จนชาวบ้านอยู่กันด้วยความเกื้อกูลสมานฉันท์ ท่านเจ้าอาวาส เมตตาจะให้ความรู้ ความเป็นมาด้วยตนเองในวันนี้


    ตั้งแต่เริ่มคิดจนเริ่มดำเนินกิจกรรมทุกอย่างสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี..ด้วย บารมีหลวงปู่ วันนี้คงทำให้ประชาชนคุ้นหูการไกล่เกลี่ยขึ้นมาบ้าง..ขอบคุณทุกท่านที่ร่วม กิจกรรมรณรงค์และทำบุญร่วมกันครับ.

Share this post :

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

ป้ายกำกับ

โครงการ (68) ประชุม (31) ร่วมพิธี (31) ศึกษาดูงาน (31) กีฬา (18) ต้อนรับ (13) ทำเนียบบุคคลากร (13) ดูงาน (12) อวยพรปีใหม่ (11) งานเลี้ยง (10) มอบเกียรติบัตร (10) ตรวจเยี่ยม (9) เข้าเยี่ยมคารวะ (9) ทำเนียบผู้พิพากษา (8) ทำเนียบเจ้าหน้าที่ (7) ประวัติศาล (7) นักศึกษาฝึกงาน (6) ประสานความร่วมมือ (6) รับเสด็จ (6) เอกสารที่ต้องใช้ในการขอประกันตัว (6) จังหวัดเคลื่อนที่ (5) วันสำคัญ (5) MOU (4) กิจกรรม (4) อบรม (4) ตรวจศาล (3) ถวายพวงมาลัย (3) ประชาสัมพันธ์ (3) ประวัติศาล ภาค๙ (3) ฝึกอบรม (3) รายงานตัว (3) ศาลอื่นๆ (3) เยี่ยมแสดงความยินดี (3) โยกย้าย (3) Linkเว็บศาลยุติธรรม (2) งานศพ (2) ทำบุญตักบาตร (2) ทำเนียบข้าราชการตำรวจ (2) บันทึกเทป (2) ฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ (2) รดน้ำดำหัว (2) วันมหิดล (2) สักการะศาลพระภูมิ (2) Action (1) Adventure (1) video conference (1) งานแต่งงาน (1) ตรวจรับพัสดุ (1) ทำเนียบ รปภ. (1) ทำเนียบเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (1) บรรยาย (1) ประกาศ (1) ประชุมทางไกล (1) ประเพณีสงขลา (1) ปลดเผาสำนวน (1) วันรพี (1) วันเกิด (1) วารสาร (1) สรุปข่าวประจำเดือน (1) สัมมนา (1) เศรษฐกิจพอเพียง (1)

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Support : Creating Website By SU| |
Copyright © 2013. ศาลสงขลา - All Rights Reserved
Template Created by SU
Proudly powered by Blogger