ประวัติศาลจังหวัดตรัง

ประวัติศาลจังหวัดตรัง

จังหวัด ตรังในสมัยโบราณเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครศรีธรรมราช ดังปรากฏในปูมโหรว่า เมืองขึ้นของนครศรีธรรมราชได้ใช้ตรารูปสัตว์ประจำปีเป็นทำนอง ๑๒ นักษัตร ดังนี้

๑. เมืองสายบุรี ใช้ตราหนู (ชวด)
๒. เมืองปัตตานี วัว (ฉลู)
๓. เมืองกลันตัน เสือ (ขาล)
๔. เมืองปะหัง กระต่าย (เถาะ)
๕. เมืองไทรบุรี งูใหญ่ (มะโรง)
๖. เมืองพัทลุง งูเล็ก (มะเส็ง)
๗. เมืองตรัง ม้า (มะเมีย)
๘. เมืองชุมพร แพะ (มะแม)
๙. เมืองบันทายสมอ ลิง (วอก)
๑๐. เมืองสะอุเลา ไก่ (ระกา)
๑๑. เมืองตะกั่วป่า , ถลาง หมา (จอ)
๑๒. เมืองกระบุรี หมู (กุน)




ปี พ.ศ. ๒๓๕๔ สมัยต้นรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย บุตรของพระยานคร ชื่อ พระยาอุทัยราชธานี (ม่วง) ออกมาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้ทำพิธีตั้งหลักเมืองขึ้นที่ ตำบลควนธานี ปัจจุบันนี้ขึ้นอยู่กับ อำเภอกันตัง อำเภอกันตังนี้ เดิมเป็นท้องที่ตำบลหนึ่ง ขึ้นอยู่กับเมืองตรัง อีกต่อหนึ่ง สันนิษฐานแต่ก่อนตัวเมืองคงจะตั้งอยู่ที่บ้านโคกพลา เมื่อได้ตั้งหลักเมืองเรียบร้อยแล้ว ก็ได้เริ่มสร้างสถานที่ต่างๆ เป็นที่ราชการในเวลาต่อมา

ประวัติศาลจังหวัดตรังนั้นไม่มีหลักฐานใน เอกสารดังกล่าวไว้โดยตรง แต่พอจะประมวลความเป็นมาของศาล ซึ่งปรากฏอยู่ในเอกสารต่าง โดยการสันนิษฐานตามหลักฐานที่พอจะเชื่อถือได้ ดังนี้ จากระยะทางเสด็จพระราชดำเนินประพาสทางบกทางเรือรอบแหลมมาลายู อันเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ดังนี้

ความคิดที่จะตั้งศาลชำระความ

บ่าย โมงตรง ลงเรืออุทัยราชกิจ ขึ้นไปตามลำน้ำ ดูตามฝั่งน้ำเป็นที่ต่ำ น้ำท่วมมาก มีป่าจากเป็นพื้น ตัดไม้ทำไร่ตลอดทาง บ้านเรือนมีไม่ใคร่จะขาด บ้านหมู่ใหญ่คือที่ด่วน เรียกควนยายทองศรี เปลี่ยนชื่อว่า ควนราชสีห์แห่งหนึ่ง มีเรือนหลายหลัง ต่อขึ้นไปเป็นบ้านย่านซื่อคนมากอีกแห่งหนึ่ง มีเขาริมน้ำก็เป็นเขาเล็กๆ ๒ - ๓ ลูกต่อกันเรียกว่าลูกตูลูลุต มีศิลาใกล้ๆ ฝั่ง บ่าย ๓ โมง ๒๐ มินิต ถึงตำบลแก้มดำ มีเรือเมล์จอดอยู่ลำ ๑ มีโรงภาษีที่จีนยื่นมาทำ มีโรงหลายหลังเดิมว่าจะเป็นตลาด มีทางลงมาแต่ควนธานีไม่ถึง ๑๐๐ เส้น มีคลองขุดตัดคลอง ๑ พระยามนตรี ทำ แต่คลองนั้นเล็กกว่า หญ้าขึ้นมาก มาออกที่ริมท่าที่จะขึ้นควนธานีถึงตะพานบ่าย ๓ โมง ๔๕ มา ๒ ชั่วโมงเศษเท่านั้น

ที่นี่ไม่มีรถม้าอันใดหมด พระตรัง เองว่าเป็นคนอ่อน ไม่พอแต่การที่จะรักษาบ้านเมืองการรับเสด็จครั้งนี้ก็เป็น ๒ แห่งที่ทับเที่ยงนั้นเป็นของพวกจีนทำ และตระเตรียมที่จะแห่ของถวายตามแบบ พระยามนตรียอมให้ใช้แต่ปีกลองขอเลิกประทัดเสีย แต่การที่จะไปนั้นก็เป็นอันไปไม่ได้ เพราะระยะทางถึง ๒๘๐ เส้น ไม่มีพาหนะที่จะไป ตกลงเป็นเลิก สั่งให้พวกจีนมาหาที่นี่

พลับพลาที่ นี่ก็ไม่ได้เตรียมตัว ต้องถึงตัดต้นไม้เย็บจากกันใหม่ พระยามนตรีมาให้ทำการ ๘ วันเท่านั้น ที่ท่ามีพลับพลาหลัง ๑ หลังคาคาดผ้าขาวทาสีสรรต่างเลอะไปทั้งนั้น ทางขึ้นไปถนนกว้าง แต่เป็นถนนที่ทิ้งเสีย ค่อยๆ สู่ขึ้นไปบนเนินตามทางมีคนทำงานบ้าง คนดูบ้าง นั่งเรียงกันไปมาก เดินไปไกลมากกว่าจะถึงพลับพลา ร้อนเกือบเดินไม่ไหว เสื้อผ้าเปียกไปหมดทั้งนั้น พระที่วัดควนธานีมาตั้งร้านชยันโตเป่าอะไรกึกก้อง เข้าในพลับพลาที่จะทำอะไรอื่นได้ นอกจากอาบน้ำแล้วจึงได้ไปเที่ยวต่อไป ที่ควนธานีนี้มิใช่ควนเดียว ดูเป็นหลายควนต่อๆ กัน ต้องเดินขึ้นสูงลงต่ำบ่อยๆ ในลูกที่ปลูกพลับพลานี่มีหนทางตัดไปกลางสาย ๑ เป็นทางใหญ่ ปลูกต้นประดู่รายสองฟากแต่ตายเสียบ้าง ยังดีอยู่ก็ร่มรื่นดี ทางนี้เป็นต้นทางที่จะไปทับเที่ยง มีวัดอยู่ที่ริมพลับพลาคือวัดควนธานี มีโรงโทรเลขอยู่ริมทาง มีทางตัดลงไปจากเนินไปที่แก้มดำอีกทาง ๑ แต่เดินตัดลงเนินนี้ไปขึ้นเนินสวนพระตรัง ที่ริมทางนั้นมีศาลหลักเมือง ดูน่าขัน ทำไมเอาลงไปไว้ชายเนินไม่อยู่กลางๆ ในหว่างเนินนี้มีโรงร้านสัก ๗ – ๘ หลัง มีทางตัดลงไปบรรจบทางทับเที่ยงอีกทาง ๑ ริมถนนนี้เป็นบ้านพระบาตรรัง กั้นรั้วมีประตูโตและข้างในเป็นเรือนจากแบบเมืองนครแท้ มีเลี้ยงวัวปลูกยาในนั้น เดินตรงไปตามข้างบ้าน ตามทางสวนราษฎรบ้าง ไปไม่มากถึงสวนพระตรังที่เป็นคอเวอนเมนต์อยู่ มีหมาดมะพร้าวอยู่ข้างปลายสวนต้นทางมาก ต่อมาเข้าไปจึงเป็นหมู่บ้านจำปาดะ ในหมู่นี้สมเด็จพระยา มาทำตึกข้าหลวงไว้ ดูใหญ่โตมาก ยาวเห็นจะสักเส้น ๑ ได้ กว้างราว ๑๕ วา ก่อพ้นดินขึ้นมาศอกเศษ ความคิดของท่านจะให้เป็นศาลชำระความด้วยในตัว แต่การค้างเพราะเกินกำลังเมือง และความคิดไม่ต้องกันกับลูก แต่ในรอบบริเวณนั้นดีงามมาก เพราะได้ต้นจำปาดะเป็นเครื่องประดับเต็มไปทั้งนั้น บางต้นมีลูกกำลังดก แต่เป็นลูกย่อมๆ มันออกดกผิดกันกับขนุนมากที่เราเห็นต้น ๑ เห็นจะเกือบ ๔๐ ลูก ตัดทางจวนเวียนไปเป็นสวนฝรั่ง ที่นี้อยู่ใกล้ลำแม่น้ำ ยืนบนเนินแลเห็น ข้างตึกหลังนี้ออกไปเป็นเรือนข้าหลวง ฝากระดาน หลังจากเป็นสี่เหลี่ยม พระยามนตรีว่าทำขึ้นแต่ตัวไม่ได้อยู่ข้าหลวงภายหลังมาจึงได้อยู่ มีถนนแยกไปอีกหลายทาง ที่ตีนเนินเป็นท้องนา ดูคันนาโตๆ กว่าที่ได้เห็นมา เดินกลับทางถนนใหญ่หลังเรือนข้าหลวง



อีก สายหนึ่ง กลับมาบรรจบทางเดิมเข้าพลับพลา ที่ซึ่งตั้งพลับพลานี้เป็นที่ปลูกทำเนียบสมเด็จพระยา แต่ว่าเยื้องกันอยู่หน่อยหนึ่ง ทำเนียบนี้พระยามนตรีและพระยาเดโช อยู่เป็นลำดับกันมาจนโทรม จึงย้ายไปอยู่บ้านใหม่

“… ที่ท่ามีพลับพลาริมน้ำหลังหนึ่ง คาดผ้าขาวทาสีสวรรค์แดงไหลเลอะเปรอะเปื้อน ไม่มีรถหรือม้าอันใดสำหรับขับขี่ ต้องเดินขึ้นไปตามท่าจนถึงพลับพลาบนหลังเนิน ทางสัก ๒๐ เส้น ถนนที่ขึ้นเป็นถนนใหญ่ ทางรถตัดเรียบร้อยดี ปลูกต้นประดู่ทั้งสองข้าง ที่ตายเสียก็มากที่ดีอยู่ก็มี แต่ถนนนั้นโทรมทั้งสิ้น พลับพลาทำที่ที่ซึ่งสมเด็จเจ้าพระยาออกมาตั้งอยู่แต่ก่อน แต่ไม่ได้เตรียมตัวไว้เลย เมื่อพระยามนตรีมาถึงพึ่งยกหลังเล็กๆ ขึ้นได้สองหลัง ต้องเร่งทำกันทั้งกลางวันกลางคืนเพราะไม่เป็นแต่ปลูกสร้าง ถึงต้องตัดไม้และเย็บจากใหม่ด้วย พออยู่ได้แต่เลวกว่าทุกแห่ง ซึ่งมีผู้บอกเจ้าพระยาพลเทพว่า พระยาตรังทำทำเนียบตามกำหนดที่ว่าจะออกมา แต่ก่อนหมายจะยืนทำเป็นพลับพลานั้นไม่จริง ไม่มีทำเนียบอันใดที่จะทำขึ้นใหม่เลย ทำเนียบสมเด็จเจ้าพระยาและที่ข้าหลวงอยู่ต่อๆ มาก็พังหมดแล้ว ข้าหลวงชั้นหลังตั้งแต่พระยาระนองพระสุรินทร์มาตย์ ลงมาอาศัยอยู่ในเรือนฝากกระดานหลังเดียวที่พระยามนตรีทำขึ้นในสวนพระตรัง เก่า ซึ่งสมเด็จพระยาจะสร้างตึกเป็นคอเวอนเมนต์เฮาส์ในที่นั้น วันนี้เป็นวันร้อนอย่างยิ่งที่พลับพลาปลูกต่ำๆ และคาดใบผ้าขาวนั่งเหงื่อโทรม ต่อเวลาเย็นถึงได้ออกเดินเที่ยว ที่ตำบลซึ่งเรียกว่าควนธานี คือเนินเขาเมืองนี้ มิใช่เป็นควนเดียว ดูเป็นควนติดๆ กันหลายควน ทางเดินต้องขึ้นสงลงต่ำตลอดไปทุกแห่ง แต่ไม่สูงนักต่ำนักติดกันเป็นพืดใหญ่ ตามหลังเนินเหล่านี้ได้ตัดทางเป็นทางรถครั้งสมเด็จเจ้าพระยาออกมาจัดการหลาย สาย มีความยาวไปถึงตำบลแก้มดำ สายหนึ่งทับเที่ยงตลาดบางรักทางหนึ่ง คิดจะให้เป็นทางรถ แต่ไม่มีรถเดินก็ทิ้งโทรมไป เนินลูกที่ปลูกพลับพลามีถนนตัดกลาง คือทางที่จะไปถึงทับเที่ยง ต่อออกไปข้างริมน้ำลูกหนึ่ง เรียกว่าสวนพระตรัง เดินทางพลับพลาไปไกลนัก บ้านพระยาตรังตั้งอยู่บนชายเนินลูกหนี้ เป็นบ้านอย่างเมืองนครศรีธรรมราชแท้ คือมีรั้วห่างๆ ประตูไม้ช่องใหญ่ๆ เรือนหลังคาจากปลูกชิดๆกัน ถัดบ้านพระยาตรังเข้าไปหน่อยหนึ่งถึงสวนพระตรัง มีหมากมะพร้าวมาก ไปข้างปลายสวนริมน้ำมีหมู่ต้นจำปาดะหลายร้อยต้นเป็นที่งามดีอยู่ ที่สวนนี้ด้วยเหตุใดไม่ทราบตกเป็นสวนของหลวงสมเด็จเจ้าพระยาเมื่อออกมา จัดการเมืองตรังคิดจะสร้างคอเวอนเมนต์เฮาส์ ได้ลงมือก่อขึ้นมาจากพื้นดินประมาณสองศอกเศษแล้ว ตึกนั้นใหญ่โต โดยยาวเกิบจะเท่าคอเวอนเมนต์เฮาส์สิงคโปร์ แต่ไม่มีมุขหรือปีกข้างหลัง คิดจะให้เป็นศาลชำระความและที่ว่าการของข้าหลวงอยู่ในหมู่นั้นหลังเดียว ที่ดินในบริเวณนั้นก็ตัดเป็นทางสวน เดินวนเวียนไปสนุกสนานดีอยู่ แต่การที่คิดนั้นไม่ตลอดก็เลยค้าง

จากพระราชนิพนธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าความคิดที่จะตั้งศาลชำระความก็เป็นอันไม่สำเร็จ คงค้างอยู่เช่นเดิม

ปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ปลายรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเลียบมณฑลปักษ์ใต้ทางบกทางเรือรอบแหลมมลายู ผ่านไปตั้งแต่จังหวัดระนองจนถึงจังหวัดตรัง เมื่อเสด็จถึงเมืองกระบุรี ทรงพระราชดำริว่าพระอัสดงคตทิศรักษา (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ผู้ว่าราชการเมืองกระบุรี เป็นผู้สามารถในการบริหารบ้านเมืองได้ดีผู้หนึ่ง ครั้นพระองค์เสด็จมาถึงจังหวัดตรัง ได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพจังหวัดตรัง ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลควนธานี ทรุดโทรมมาก ก็ทรงหวนระลึกถึงพระอัสดงคตทิศรักษา (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ทันที จึงได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระอัสดงคตทิศรักษา (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ขึ้นเป็นพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้ว่าราชการแทนพระยาตรังคภูมาภิบาล คนก่อน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๓ เป็นต้นมา

ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ได้กราบถวายบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ย้ายที่ตั้งเมืองจากตำบลควนธานีไปตั้งที่ตำบลกันตัง ขณะที่ย้ายเมืองใหม่นั้นสถานที่ราชการต่างๆ เช่น ศาลากลางจังหวัดตรัง ศาลจังหวัดและสถานที่อื่นๆ ก็จัดสร้างชั่วคราวในที่ๆเรียกว่าในขลับหรือในกลับ คือ ที่ตั้งพระตำหนักจันทน์ ซึ่งอยู่ทิศทางตะวันออกใกล้ๆ ที่ว่าการอำเภอกันตังปัจจุบันนี้ ปรากฎในชุดจดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ พ.ศ.๒๔๕๘ ของสักขี ว่า

สถานที่ตั้งศาลใหม่

...... พระตำหนักจันทน์เป็นพลับพลาไม้ทาสี มีมุขยื่นออกมาหลายมุขตั้งอยู่บนควน (เนินดิน) ในบริเวณซึ่งได้ตกแต่งไว้เป็นสนามและสวน เรียกว่า สวนบันเทิงสถาน มีเรือนบริวารซึ่งเป็นเรือนถาวรหลายหลัง สโมสรเสือป่าเมืองตรังอยู่ในบริเวณนี้ด้วย ได้ปลูกโรงพักและโรงเลี้ยงเป็นของชั่วคราวเพิ่มขึ้นในการรับเสด็จครั้งนี้พอ สมควร ข้างพระตำหนักด้านใต้มีเนินสูงอีกลูกหนึ่ง ยังคงเป็นป่าไม้ ตรงหน้าเนินที่ตั้งพระตำหนัก มีเนินใหญ่อีกลูกหนึ่งเป็นที่ตั้งศาลากลางเป็นตึกถาวรหลังใหญ่ ๒ ชั้น แต่ดูข้างหลังเหมือนเป็น ๓ ชั้น เพราะพื้นที่เทลงมาจึงเติมชั้นล่างข้างหลังนี้อีกชั้นหนึ่ง สองข้างตึกศาลากลางมีตึกชั้นเดียวอีก ๒ หลัง เป็นศาลาหลังหนึ่ง เป็นที่ว่าการอำเภอหลังหนึ่ง ในบริเวณเนินลูกนี้ มีสวนและสนาม และมีถนนใหญ่ รถเดินได้ถึงกันกับเนินที่ตั้งพระตำหนัก

ข้างทิศตะวันออกแห่งเนิน ที่ตั้งศาลากลางนี้ มีเนินเล็กอีกลูกหนึ่งเป็นที่โรงตำรวจภูธร เป็นโรงถาวรเสาก่ออิฐ พื้นและฝาไม้ หลังคากระเบื้องซีเมนต์พลตำรวจภูธรอยู่ได้ประมาณ ๑๒๐ คน โรงตำรวจภูธรหลังนี้พึ่งสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๔๕๗


เมื่อ อยู่ในบริเวณเนินที่ตั้งพระตำหนัก แลเห็นสนามและสวนอยู่โดยรอบ แต่ข้างทิศตะวันออกเห็นเทือกเขาลูกหนึ่งอยู่ไม่สู้ไกลสายตานัก ทำให้แลดูงามเวลาพระอาทิตย์ขึ้นข้ามลูกเขามาโดยลำดับ และทั้งเวลากลางคืนที่พระจันทร์กำลังจะเลื่อนลงลับเหลี่ยมเขา

เมื่อ ได้สร้างศาลากลางจังหวัดชนิดถาวรและสถานที่อื่นๆ รวมทั้งศาลจังหวัดเรียบร้อยแล้ว พระยารัษฎานุประดิษฐ์(คอซิมบี้ ณ ระนอง) ก็ย้ายไปดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๔๕ ซึ่งในขณะนั้นจังหวัดตรังก็เป็นจังหวัดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ในความปกครองของมณฑล ภูเก็ตด้วย

พ.ศ. ๒๔๔๐ หลังจากประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่แล้ว ได้อำเภอ ๕ อำเภอ ดังนี้
๑. อำเภอบางรัก (ต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอทับเที่ยง) ปัจจุบันเป็นอำเภอเมืองตรัง
๒. อำเภอเขาขาว (ต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอห้วยยอด)
๓. อำเภอเมือง (คืออำเภอกันตังเดี๋ยวนี้)
๔. อำเภอปะเหลียน (ครั้งหนึ่งเคยเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอหยงสตาร์)
๕. อำเภอสิเกา
Share this post :

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

ป้ายกำกับ

โครงการ (68) ประชุม (31) ร่วมพิธี (31) ศึกษาดูงาน (31) กีฬา (18) ต้อนรับ (13) ทำเนียบบุคคลากร (13) ดูงาน (12) อวยพรปีใหม่ (11) งานเลี้ยง (10) มอบเกียรติบัตร (10) ตรวจเยี่ยม (9) เข้าเยี่ยมคารวะ (9) ทำเนียบผู้พิพากษา (8) ทำเนียบเจ้าหน้าที่ (7) ประวัติศาล (7) นักศึกษาฝึกงาน (6) ประสานความร่วมมือ (6) รับเสด็จ (6) เอกสารที่ต้องใช้ในการขอประกันตัว (6) จังหวัดเคลื่อนที่ (5) วันสำคัญ (5) MOU (4) กิจกรรม (4) อบรม (4) ตรวจศาล (3) ถวายพวงมาลัย (3) ประชาสัมพันธ์ (3) ประวัติศาล ภาค๙ (3) ฝึกอบรม (3) รายงานตัว (3) ศาลอื่นๆ (3) เยี่ยมแสดงความยินดี (3) โยกย้าย (3) Linkเว็บศาลยุติธรรม (2) งานศพ (2) ทำบุญตักบาตร (2) ทำเนียบข้าราชการตำรวจ (2) บันทึกเทป (2) ฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ (2) รดน้ำดำหัว (2) วันมหิดล (2) สักการะศาลพระภูมิ (2) Action (1) Adventure (1) video conference (1) งานแต่งงาน (1) ตรวจรับพัสดุ (1) ทำเนียบ รปภ. (1) ทำเนียบเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (1) บรรยาย (1) ประกาศ (1) ประชุมทางไกล (1) ประเพณีสงขลา (1) ปลดเผาสำนวน (1) วันรพี (1) วันเกิด (1) วารสาร (1) สรุปข่าวประจำเดือน (1) สัมมนา (1) เศรษฐกิจพอเพียง (1)

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Support : Creating Website By SU| |
Copyright © 2013. ศาลสงขลา - All Rights Reserved
Template Created by SU
Proudly powered by Blogger